CIMjournal
banner ผู้ป่วยหนัก 2

การทำหัตถการหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คุ้มหรือเสีย


โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (
Chronic kidney disease, CKD) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease, CAD) เป็นโรคหัวใจที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การรักษาโรคนี้ประกอบด้วยการใช้ยาและการทำหัตถการเพื่อเปิดหลอดเลือดหัวใจ (Revascularization) การศึกษาควบคุมแบบสุ่มที่ผ่านมาพบว่า การรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวให้ผลลัพธ์การรักษาที่ไม่ด้อยกว่าการพยายามทำหัตถการเพื่อเปิดหลอดเลือด และอาจส่งผลลัพธ์ที่ดีกว่าต่อไตอีกด้วย

โรคหลอดเลือดหัวใจเรื้อรัง (stable CAD) เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง การทำหัตถการเพื่อเปิดหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นหนึ่งในการรักษาหลักเองมีความเสี่ยงจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของไตในผู้ป่วย CKD ได้มากกว่าผู้ป่วยปกติ และในผู้ป่วย CKD นั้นทำให้ไม่สามารถให้ยาหลายตัวที่ใช้ในผู้ป่วย stable CAD ปกติได้ จากข้อมูลการศึกษา ISCHEMIA พบว่าในผู้ป่วย stable CAD ที่ไม่มี severe LV dysfunction หรือ significant left main disease เมื่อเทียบการรักษาด้วยยาอย่างเดียวและการใช้ยาร่วมกับการทำหัตถการให้ผลลัพธ์การรักษาที่ไม่ต่างกัน แต่การศึกษาดังกล่าว exclude ผู้ป่วย eGFR < 30 mL/min/1.73 m2 ออกไป จึงเป็นที่มาของการศึกษา ISCHEMIA-CKD ที่ศึกษาในประชากรคนไข้ที่เป็น CKD stage 4 – 5 ว่าจะให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกันหรือไม่

การศึกษา ISCHEMIA-CKD ถูกนำเสนอในปี พ.ศ. 2563 โดยเป็นการทดลองควบคุมแบบสุ่มระหว่างการรักษา stable CAD ด้วยการใช้ยาอย่างเดียวและการทำหัตถการเพื่อเปิดหลอดเลือดหัวใจในประชากรที่เป็น advanced CKD ผลการศึกษาพบว่า primary outcome คือ Composite of death and nonfatal myocardial infarction (MI) ไม่ต่างกัน และในประชากรที่ยังไม่ได้เป็น End-stage renal disease (ESRD) เดิมนั้นมีการเริ่มบำบัดทดแทนไตใหม่ (Initiation of dialysis) ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ติดตามผู้ป่วย รวมแล้วไม่ต่างกัน ซึ่งขัดกับสมมติฐานที่การทำหัตถการหลอดเลือดหัวใจมีความเสี่ยงต่อการเพิ่มการบาดเจ็บต่อไตมาก จึงมีการวิเคราะห์ภายหลัง (post-hoc analysis) ในประเด็นนี้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2565 พบว่าในกลุ่มที่ได้รับการสุ่มเป็นกลุ่มที่ได้รับการทำหัตถการหลอดเลือดนั้นมีระยะเวลาเฉลี่ยที่จะเริ่มบำบัดทดแทนไตสั้นกว่ากลุ่มที่รักษาด้วยยาอย่างมีนัยสำคัญ คือ 6 เดือนและ 18 เดือน ตามลำดับ

การศึกษานี้ทำให้เห็นว่า นอกจากการทำหัตถการเพื่อเปิดหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วย stable CAD จะไม่ลดอัตราการตายหรือ MI แล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยที่เป็น advanced CKD และยังไม่ได้รับการบำบัดทดแทนไตอยู่เดิมต้องเริ่มการบำบัดทดแทนไตเร็วขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถึง 12 เดือน อย่างไรก็ตามข้อมูลในส่วนหลังนี้เป็นการวิเคราะห์ภายหลังจบการศึกษาไปแล้วจึงอาจต้องแปลผลด้วยความระมัดระวัง

 

เรียบเรียงโดย นพ. ธนิศร หาญศิริการ
ข้อมูลจาก
  1. Bangalore S, Maron DJ, O’Brien SM, Fleg JL, Kretov EI, Briguori C, et al. Management of Coronary Disease in Patients with Advanced Kidney Disease. N Engl J Med 2020;382:1608-18.
  2. Briguori C, Mathew RO, Huang Z, Mavromatis K, Hickson LJ, Lau WL, et al. Dialysis Initiation in Patients With Chronic Coronary Disease and Advanced Chronic Kidney Disease in ISCHEMIA-CKD. J Am Heart Assoc 2022;11:e022003.

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก