การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular vaccination) บริเวณกล้ามเนื้อหัวไหล่ (Deltoid muscle) พบผลข้างเคียงกับกล้ามเนื้อหัวไหล่ 0.99 ต่อการฉีด 10,000 ครั้ง โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย อาทิ อายุที่มากขึ้น ความถี่ในการพบแพทย์ก่อนหน้า และการฉีดวัคซีน
Chengyi Zheng จาก Kaiser Permanente Southern California และทีมงาน ได้รวบรวมประวัติการรักษาย้อนหลังของผู้ที่มีอายุมากกว่า 3 ปีและได้รับการฉีดวัคซีนบริเวณกล้ามเนื้อไหล่ ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 2016 – 31 ธ.ค. 2017 โดยมีจำนวนการฉีดวัคซีนเกิดขึ้นทั้งหมด 3,758,7674 ครั้ง ผลการศึกษาพบผลข้างเคียงกับกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ 374 ครั้ง คิดเป็น 0.99 ครั้งต่อจำนวนการฉีด 10,000 ครั้ง โดยพบในวัยผู้ใหญ่ (อายุ 18 ปีขึ้นไป) 1.22 % และวัยเด็ก (อายุ 3 – 17 ปี) 0.05 % สำหรับวัยผู้ใหญ่ปัจจัยที่ก่อให้ความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงบริเวณไหล่ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ในแผนกผู้ป่วนอกในระยะเวลา 6 เดือนก่อนการฉีดวัตซีน, Charlson Comorbidity Index (CCI) ที่ลดลง และการฉีดวัคซีน Pneumococcal conjugate vaccine (PCV) และการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยวัคซีนประเภท Quadrivalent พบผลข้างเคียงบริเวณหัวไหล่มากที่สุด
จากการศึกษานี้ แพทย์ควรระมัดระวังปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงบริเวณไหล่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบเป็นอุปสรรคต่อการรักษาผู้ป่วยในอนาคตได้ ทั้งนี้การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องข้อมูลที่ไม่ได้ศึกษาในทุกประเภทของสถานพยาบาล และ ปัจจัยแฝงที่ยังไม่ถูกค้นพบ
ข้อมูลจาก https://specialty.mims.com/topic/shoulder-conditions