CIMjournal
banner อาการผู้ป่วย 2

การแยกตัวจากสังคมและความอ้างว้างมีผลต่อสุขภาพทางโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงโรคสมอง


การแยกตัวจากสังคมและความอ้างว้างเป็นภาวะที่พบได้บ่อยแต่ถูกมองข้าม แท้จริงแล้วพบว่าทั้งสองภาวะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ไม่ดี ทั้งการเสียชีวิต การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
– ข้อมูลจาก scientific statement โดย American Heart Association (AHA)

ในสังคมยุคปัจจุบันผู้คนขาดการติดต่อกันทางสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้น แต่มีกิจกรรมที่พบปะกันต่อหน้าลดน้อยลง ปัญหานี้พบได้ทั้งในคนหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของระบบสาธารณสุข  การศึกษาวิจัยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามีข้อมูลชัดเจนว่า การแยกตัวจากสังคมและความอ้างว้างนำไปสู่ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ไม่ดี ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาว่า การแยกตัวจากสังคมและความอ้างว้าง มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพทางโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคสมองอย่างไร รวมถึงหากลไกของความสัมพันธ์นั้น

งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American Heart Association (JAHA) เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมา  ทีมผู้วิจัยนำโดย Dr. Crystal Wiley Cené จาก University of California San Diego Health ทำการทบทวนวรรณกรรมแบบ systematic review ย้อนหลัง โดยหางานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการแยกตัวจากสังคมจากฐานข้อมูล 4 แหล่ง ได้แก่ PubMed, PsycInfo, Cumulative Index of Nursing and Allied Health และ Scopus  ผู้วิจัยทำการศึกษาว่าการแยกตัวจากสังคมและความอ้างว้าง มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพทางโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคสมองอย่างไร  ผลการศึกษาพบว่า การแยกตัวจากสังคมและความอ้างว้างมีความสัมพันธ์โดยตรงกับโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) และการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง (stroke mortality) โดยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคดังกล่าวถึงร้อยละ 29 และร้อยละ 32 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ที่แยกตัวจากสังคมที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่เดิม จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่ระยะเวลา 6 ปี ส่วนความสัมพันธ์ของการแยกตัวจากสังคมและความอ้างว้างกับภาวะหัวใจวาย (heart failure) ภาวะสมองเสื่อม (dementia) และภาวะบกพร่องของสมอง (cognitive impairment) นั้นมีไม่มากนักและไม่เด่นชัด  ในส่วนของการศึกษาด้านกลไกความสัมพันธ์พบว่า มีเพียงไม่กี่งานวิจัยที่ทำการทดสอบกลไกระหว่างการแยกตัวจากสังคมและความอ้างว้างที่มีผลต่อภาวะสุขภาพทางโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคสมองโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสม และไม่พบว่ามีงานวิจัยใดเลยที่ทำการศึกษาทดสอบถึงแนวทางและวิธีการรักษาเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบทางคลินิกที่ไม่ดีที่สัมพันธ์กับการแยกตัวจากสังคมและความอ้างว้างเหล่านั้น

ในอนาคตควรมีการศึกษาวิจัยอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการรักษาเพื่อช่วยทำให้สุขภาพทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงระบบสมองของผู้ป่วยที่แยกตัวจากสังคมและรู้สึกอ้างว้างนั้นดีขึ้น  ผู้วิจัยส่งเสริมให้แพทย์พูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับชีวิตทางด้านสังคมเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาหรือมีความเสี่ยงให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

เรียบเรียงโดย พญ. พันธพันธุ์  สุรียะธนาภาส
ข้อมูลจาก
  1. https://www.medscape.com/viewarticle/978644
  2. https://www.ahajournals.org/doi/abs/1161/JAHA.122.026493

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก