CIMjournal
banner ยา บัญชียา

ระดับไขมันได้เป้าหมายหรือความแรงของยา statin ในโรคหลอดเลือดหัวใจ


การใช้ยาลดระดับไขมัน โดยไม่ขึ้นอยู่กับความแรงของยา เพื่อให้ระดับไขมัน
LDL อยู่ในช่วง 50 – 70 mg/dL ซึ่งเป็นเป้าหมายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจไม่ได้ด้อยไปกว่าการได้รับกลุ่มยา statin ที่มีความแรงสูง

ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอุบัติการณ์ในโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่ม แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาในปัจจุบันมีบางแนวทางแนะนำให้รักษาด้วยกลุ่มยา statin ที่มีระดับความแรงสูงเพื่อระดับไขมัน LDL ลงอย่างน้อย 50% ส่วนอีกวิธีคือการเริ่มต้นด้วยยากลุ่ม statin ที่มีระดับความแรงปานกลางและปรับขนาดยาให้ระดับไขมัน LDL อยู่ตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลว่าแนวทางใดเหมาะสมกว่ากัน

การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมจาก 12 สถาบันในประเทศเกาหลีใต้ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ระหว่างช่วง 9 กันยายน 2016 ติดตามจนถึง 26 ตุลาคม 2022 ศึกษาการได้รับยาโดยเน้นเป้าหมายระดับไขมัน LDL เป็นหลัก (ไม่ขึ้นอยู่กับความแรงของยา statin) ไม่ได้ด้อยไปกว่าการได้รับยา statin ที่มีความแรงสูง ในด้านการเสียชีวิต การเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจซ้ำ โดย ติดตาม 3 ปี ได้ทำการสุ่มผู้ป่วยเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกรักษาให้ระดับไขมัน LDL อยู่ในเป้าหมายช่วง 50-70 mg/dL กลุ่มที่สอง ให้ยา statin ที่มีความแรงสูง (Rosuvastatin 20 mg หรือ Atorvastatin 40 mg) ผลการศึกษา พบว่า จากผู้ป่วย 4,400 คน ได้รับการติดตามอย่างครบถ้วนจนจบการศึกษา 4,341 คน (98.7%) อายุเฉลี่ย 65.1 ปี เป็นเพศหญิง 1,228 คน (27.9%) ระดับไขมัน LDL เฉลี่ยในช่วงสามปี คือ 69.1 mg/dL และ 68.4 mg/dL ในกลุ่มที่รักษาให้ระดับไขมัน LDL อยู่ในเป้าหมาย และกลุ่มที่ได้รับยา statin ความแรงสูงตามลำดับ มีการเกิดการเสียชีวิต การเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจซ้ำ 177 คน (8.1%) ในกลุ่มที่รักษาให้ระดับไขมัน LDL อยู่ในเป้าหมาย และ 190 คน (8.7%) ในกลุ่มที่ได้รับยา statin ความแรงสูง โดยมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการไม่ได้ด้อยกว่า

ในการรักษาระดับไขมัน LDL ให้ได้เป้าหมาย 50-70 mg/dL ในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจไม่ได้ด้อยกว่าการรักษาด้วยยา statin ความแรงสูง ในด้านการลดการเสียชีวิตในช่วง 3 ปี การเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมอง หรือได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจซ้ำ ดังนั้นการจะใช้วิธีใดในการรักษาผู้ป่วยสามารถปรับให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล

 

เรียบเรียงโดย พญ. สุภัทรา จงศิริกุล
ข้อมูลจาก https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/36877807/

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก