CIMjournal
banner ฮอร์โมน 2

ผลของการชดเชยฮอร์โมนเพศชายกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด


งานวิจัยแบบ
Meta-analysis จาก 35 การทดลองทางการแพทย์ ประกาศในงาน ENDO 2022 แสดงให้เห็นว่าในชายที่ต้องใช้ฮอร์โมนเพศเพื่อชดเชย เมื่อติดตามผลในระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 10 เดือน พบโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โอกาสเกิดหลอดเลือดสมอง และอัตราการเสียชีวิตลดลงกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอก

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย เป็นที่ทราบชัดเจนว่าเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ยังไม่ถึงวัยพร่องฮอร์โมนตามธรรมชาติ แต่การชดเชยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไม่ว่ารูปแบบทางผิวหนัง ทางการฉีดหรือกิน กลับได้รับคำเตือนจากองค์การอาหารและยาว่าระวังการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มที่เป็นโรคอยู่แล้วหรือเสี่ยงสูง คำเตือนนี้มาจากข้อมูลการติดตามผู้ป่วยที่ใช้เทสโทสเตอโรนที่ระเบียบวิธีวิจัยยังเป็นที่ถกเถียง และมี confounder คือ ผู้ใช้ฮอร์โมนชดเชยนี้เป็นกลุ่มอายุมากที่โอกาสเกิดโรคหัวใจสูงมากอยู่แล้ว

นักวิจัยจากอังกฤษประกาศผลการศึกษาในงาน ENDO 2022 ที่อเมริกา ถึงผลการศึกษาแบบ meta-analysis ที่รวบรวมจากการศึกษาแบบ RCTs ถึง 35 งานวิจัย ทำในผู้ชายพร่องฮอร์โมนเพศและต้องชดเชยฮอร์โมนเพศอย่างน้อยสามเดือน ทุกงานวิจัยมีการวัดผลเรื่องการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง อัตราการเสียชีวิต ว่ามีเพิ่มขึ้นหรือไม่หากเทียบกับยาหลอก มีกลุ่มตัวอย่าง 5,601 ราย อายุเฉลี่ย 65 ปี ระยะเวลาติดตามเฉลี่ยที่ 9.5 เดือนและส่วนมากเป็นผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว ผลการศึกษาออกมาว่า สำหรับผลอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเพียง 0.4% เทียบกับยาหลอกคือ 0.8% ถึงแม้จะลดอัตราการเสียชีวิตแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อคิดแยกย่อยปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะแบ่งกลุ่มอายุช่วงต่าง ๆ แล้ว ผลการศึกษาก็ไม่เพิ่มอัตราการเสียชีวิต ตรงกับผลวิจัยหลัก ที่สอดคล้องกับการศึกษาแบบเดียวกันที่เก็บข้อมูล 204,857 คน อายุเฉลี่ย 60 ปี ติดตามไปห้าปี พบว่าการใช้เทสโทสเตอโรนไม่เพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ยกเว้นในกลุ่มที่มีโรคอยู่แล้วและใช้เทสโทสเตอโรนแบบแปะผิวหนัง (อ้างอิงหมายเลข 3)

งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าการชดเชยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในชายที่พร่องฮอร์โมน ไม่ได้เพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และข้อมูลยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสการเกิดโรคดังกล่าวที่ลดลง เพียงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการชดเชยฮอร์โมน แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังต่อเนื่องในคนที่เสี่ยงสูงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะระยะติดตามในงานวิจัยนี้ยังไม่นานพอที่จะยืนยันความปลอดภัยในระยะยาว ต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมอีกต่อไป 

 

เรียบเรียงโดย นพ. ชาคริต หลิมพานิช
ข้อมูลจาก
  1. https://specialty.mims.com/topic/testosterone-therapy-safe-for-the-heart–but-some-experts-disagree-?channel=Multi-Specialty
  2. Hudson J, Cruickshank M, Quinton R, et al. Adverse cardiovascular events and mortality in men during testosterone treatment: an individual patient and aggregate data meta-analysis. Lancet Healthy Longev. 2022;3(6):e381-e393. doi:10.1016/S2666-7568(22)00096-4. https://www.thelancet.com/journals/lanhl/article/PIIS2666-7568(22)00096-4/fulltext#%20
  3. https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/JAHA.120.020562
  4. https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/jaha.113.000272

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก