โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษา หรือวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการชะลอการลุกลามของโรค มีการศึกษาใหม่ พบว่า การประสานคลื่นสมองกับคลื่น ultrasound นั้น ส่งผลให้เกิดการลดลงของการสะสมของโปรตีนชนิดที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
ทีมวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Gwangju (GIST) ในเกาหลี ได้ทำการวิจัยโดยใช้ “ultrasound-based gamma entrainment” ซึ่งเป็นเทคนิคในการทำให้คลื่นสมองของมนุษย์ (หรือสัตว์) สูงกว่า 30 Hz (คลื่นแกมมา) ตามความถี่ในการกระตุ้นที่กำหนดไว้ ซึ่งกระบวนการนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการให้ subject เจอกับสิ่งกระตุ้นซํ้า ๆ เช่น เสียง แสง หรือการสั่นสะเทือน จากการศึกษาที่ได้ทำการทดลองในหนู โดยส่งคลื่น ultrasound ที่ความถี่ 40 Hz เข้าไปยังสมองของหนู 2 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า สามารถลดการเกิดการสะสมของ β-amyloid plaques และ tau protein ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเป็นอัลไซเมอร์ได้ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ด้วย electroencephalographic analyses ยังแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาในด้านการทำงานของสมอง ซึ่งบ่งชี้ถึงการเชื่อมต่อของเซลสมองที่ได้รับประโยชน์ต่อการรักษาในเชิงนี้
การใช้ ultrasound ไม่ทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง (Brain hemorrhages) ทำให้เห็นว่าเป็นวิธีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อสมอง ทีมวิจัยให้ความเห็นว่า ข้อดีของการใช้คลื่น ultrasound การสามารถเข้าถึงสมองได้ โดยไม่รบกวนระบบประสาทสัมผัสของมนุษย์ แตกต่างจากการใช้เสียง หรือแสงในการสร้างคลื่นแกมมา
ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจของการศึกษานี้ สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแนวทางการรักษาโรคอัลไซเมอร์ โดยมีผลข้างเคียงน้อย รวมถึงอาจนำไปสู่แนวทางการรักษาโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน อีกด้วย
ข้อมูลจาก
- https://www.sciencedaily.com/releases/2022/01/220124103914.htm
- https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34872618/