ทุกคนต้องพบเจอกับอุปสรรค คิดว่าทักษะชีวิตสำคัญมาก คือ ต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยว กลับเข้าสู่หลักศาสนาของตนเอง ปรัชญาในการแก้ไขปัญหาชีวิตคือ การดำรงชีวิตทุก ๆ วันอย่างมีสติ ถ้ารู้ตัวในสิ่งที่ทำอยู่ ใช้ชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรม หากเจองานที่เป็นอุปสรรค เราจะไม่หวั่นไหวหรือหดหู่ท้อแท้ อย่างการทำงาน อยากให้งานสำเร็จ แต่มีปัญหา ไม่อนุมัติให้เราทำ ถ้าใจร้อนอารมณ์เสียก็ไปไม่ถึงไหน แต่เราเองไม่ทะเลาะกับใคร ใช้การรับฟัง ปัญหาคืออะไร การทำงานที่ดีต้องฟังเสียงทุกเสียง ที่ไม่อนุมัติ เขาต้องมีเหตุผล ได้ยินเสียงจริง ๆ ของเขาหรือยัง ความกังวล ความต้องการของเขาคืออะไร ถ้าฟังเสียงของทุกคนในองค์กรก็จะพบวิธีแก้เอง และค่อย ๆ แก้ไข ทักษะที่ดีคือ ฝึกเจริญสติ ถ้าไม่ฝึกปฏิบัติเราจะฟังไม่ดี ฟังด่วนสรุป ไม่ลึกซึ้งพอ หลักการนี้ใช้ได้กับทุกเรื่อง ทุกความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นคนไข้นิสิตแพทย์ ครอบครัว ใช้ทักษะเดียวกัน
ถ้าย้อนกลับไป เราคิดว่าไม่มีอะไรต้องแก้ไข อย่าไปกลัวความล้มเหลวหรือความผิดพลาดในอดีต นั่นคือสิ่งที่ทำให้เราเติบโตมาเป็นเราในวันนี้ สิ่งที่บอกลูกศิษย์และคนไข้คือ ล้มเหลวได้เลยไม่เป็นไร สอบตกได้เลยไม่เป็นไร ผิดพลาดได้เลย บทเรียนเหล่านี้เราต้องเรียนรู้กับมัน เช่น คนไข้ไปเข้าค่าย ลืมเอายาเอาของไป แล้วเขาป่วยหนัก เข้าไอซียู เราอย่าไปซ้ำเติมเขา แต่ถามเขาว่า หนูได้บทเรียนอะไรจากเหตุการณ์นี้ เขาจะบอกในสิ่งที่เขาเรียนรู้ เขาจะต้องเตรียมของอะไรบ้าง ต้องมีแพลนเอ แพลนบี อุปกรณ์เกิดขัดข้องแล้วแพลนบีคืออะไร ถ้าใช้วิธีนี้ดูแลคนไข้ จะทำให้ความสัมพันธ์กับคนไข้ดีทุกอย่างถอดบทเรียนได้จากความผิดพลาด อย่าไปเรียกว่า ความผิดพลาด ต้องค่อย ๆ เรียนรู้ไป
ติดตามอ่านบทสัมภาษณ์ทั้งหมด เพียง สมัครสมาชิก หรือ Log in เข้าอ่านบทสัมภาษณ์คอลัมน์ Meet the Experts : Cardiovascular & Metabolic, Pediatrics, Diabetes & Endocrinology ได้เลยค่ะ