CIMjournal
รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

อาจารย์ นพ. วิปร วิประกษิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปี 2564

สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้มีการมอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้กับ  ศ. ดร. นพ. วิปร วิประกษิต สาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่เป็นผู้ที่มุ่งมั่นทำงานวิจัยตามพระปณิธานแห่ง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” รางวัลนี้ถือเป็นเกียรติสูงสุดของนักวิจัยไทยที่ได้ทำงานวิจัยเพื่อคุณประโยชน์ให้กับแผ่นดิน และเป็นกำลังใจให้นักวิจัยรุ่นใหม่ในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรม

สำหรับผลงานด้านการวิจัยของอาจารย์ หลังจากกลับจากการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านอณูเวชศาสตร์ (Molecular Medicine) จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สหราชอาณาจักร อาจารย์ได้ทำงานวิจัยมากกว่า 40 โครงการ โดยได้รับทุนสนับสนุนทั้งจากในประเทศต่างประเทศ โดยมีผลงานวิจัยเด่นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการตรวจวินิจฉัยโรคทางด้านโลหิตวิทยาและอณูเวชศาสตร์ เช่น การได้เป็นนักวิจัยรายแรกของโลกที่ค้นพบโรคโลหิตจางทางพันธุกรรม KLF-1 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ใน “Blood” วารสารทางวิชาการด้านโลหิตวิทยาระดับโลกเมื่อปี ค.ศ. 2014 และได้รางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก ประจำปี 2558 จาก วช. การเป็นผู้นำในการวิจัยเพื่อผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย โดยมีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคดังกล่าวเป็น 100 เรื่อง โดยผลงานเหล่านี้ได้รับการอ้างอิงในระดับนานาชาติ รวมทั้งได้พัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการตรวจประเมินภาวะเหล็กสะสมในหัวใจและตับ ด้วยเครื่อง MRI ซึ่งต่อมาได้ใช้เป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและแม่นยำ ให้กับผู้ป่วยทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

ในช่วงวิกฤติ COVID-19 อาจารย์ได้นำความรู้จากการทำงานวิจัยทางด้านการตรวจสารทางพันธุกรรม มาปรับใช้ในการตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 โดยได้มีการดัดแปลงรถกระบะมาทำเป็น “รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย” ด้วยทุนส่วนตัว เพื่อสนับสนุนการตรวจเชิงรุก (Active Case Finding) ให้สามารถเดินทางไปถึงชุมชนห่างไกลในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยได้ โดยออกแบบติดตั้งห้องปฏิบัติการความดันบวก ที่มีระบบกรองอากาศ และฆ่าเชื้อไวรัสติดตั้งบนด้านหลังรถกระบะ ทำให้เคลื่อนที่ได้สะดวก และให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเก็บตัวอย่างผ่านช่องถุงมือ ทำให้ไม่ต้องใช้ชุด PPE สำหรับป้องกันการติดเชื้อที่กำลังขาดแคลน ซึ่งเป็นการลดโลกร้อนจากการเพิ่มขยะให้กับสิ่งแวดล้อม โดยต่อมาได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายรถต้นแบบและสิทธิบัตรของ “รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย” แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2563 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดสร้าง “รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยพระราชทาน” ให้กับ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จำนวนเกือบ 50 คัน ทำให้ศักยภาพของบุคลากร 1 ราย จากเดิมสามารถเก็บตัวอย่างได้ประมาณวันละ 200 – 300 ตัวอย่าง ปัจจุบันสามารถทำได้ถึงวันละประมาณ 1,500 ตัวอย่าง หากใช้รถพระราชทาน นำมาซึ่งความปลาบปลื้มอย่างหาที่สุดมิได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก hfocus.org

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก