ศ. พญ. อรพรรณ โพชนุกูล
ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย
เด็กที่เป็นโรค viral bronchiolitis มีความเสี่ยงในการเกิด recurrent wheezing และเป็นโรคหืดได้ตั้งแต่ 30 – 80% ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหืด ได้แก่ เด็กที่คลอดก่อนกำหนด พันธุกรรมหรือยีนบางชนิด (ที่ตำแหน่ง 17q21) ประวัติโรคหืดในครอบครัวการได้รับบุหรี่ มลพิษ มีอาการรุนแรง และชนิดของเชื้อไวรัส (รูปที่ 1)
รูปที่ 1 ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหืดของเด็กที่เป็น viral bronchiolitis
.
เชื้อไวรัสที่สำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหืด คือ Respiratory syncytial virus (RSV) และ Rinovirus ซึ่ง rhinovirus มีบทบาทต่อการเกิดโรคหืดมากกว่า โดยมีโอกาสเกิด atopic asthma เมื่อโตขึ้นถึง 30 – 80% ส่วน RSV จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด recurrent wheezing 10 – 30% แต่เป็นโรคหืดน้อยกว่า โดยยีนที่เพิ่มความเสี่ยงโรคหืดคือ cadherinrelated family member (CDHR3) ซึ่งเป็น RV-C receptor ของ rhinovius โดย rhinovius ที่มีอาการรุนแรงเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบแบบภูมิแพ้ (Th2 inflammation) (รูปที่ 2)รูปที่ 2 กลไกทางอิมมูนต่อติดเชื้อไวรัส RSV และ Rhinovius
.
กล่าวโดยสรุปคือ RSV bronchiolitis มักเกิดในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ปี โดยทำให้เกิดมูกและทางเดินอุดตัน การรักษาคือ ใช้ RSV specific monoclonal antibody ในกลุ่มเสี่ยงที่จะหอบซ้ำ
รูปที่ 3 การตอบสนองต่อการรักษา
.
ส่วน Rhinovirus มีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้และโรคหืด (atopic predisposition and asthma) ซึ่งในคนที่มีอาการรุนแรงมักตอบสนองต่อ Systemic steroids ดังนั้น หากเราพบเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีที่มี severe bronchiolitis ครั้งแรก ควรติดตามอาการใกล้ชิดและอาจต้องให้ยาป้องกันโรคหืดในกรณีมีความเสี่ยง