CIMjournal

ม.มหิดล ค้นพบโรคเส้นประสาทตาอักเสบชนิดใหม่ สาเหตุภูมิคุ้มกันผิดปกติในผู้ป่วย HIV


พญ. ปนิษฐา จินดาหราผศ. พญ. ปนิษฐา จินดาหรา
อาจารย์แพทย์ประจำหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


ในบรรดาโรคที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น  ซึ่งนอกจากอาการ “เบาหวานขึ้นตา” หรือ “ต้อหิน” ที่พบได้บ่อยแล้ว ยังมี “โรคเส้นประสาทตาอักเสบ” ที่อาจคุกคามผู้คนทั่ว ๆ ไป หรือแม้แต่ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) ได้หากไม่เฝ้าระวังให้มากพอ

ผศ. พญ. ปนิษฐา จินดาหรา อาจารย์แพทย์ประจำหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และทีมวิจัย ซึ่งเป็นความร่วมมือภายในคณะฯ ระหว่างหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ และภาควิชาจักษุวิทยา ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ค้นพบภูมิคุ้มกันชนิดใหม่ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเส้นประสาทตาอักเสบ และได้รับการตีพิมพ์ผลการค้นพบดังกล่าวแล้วในวารสารวิชาการระดับโลก “Dove Press Journal” ซึ่งอยู่ใน Top 1% ของโลก

โดยได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยเส้นประสาทตาอักเสบของโรงพยาบาลรามาธิบดี อายุเฉลี่ย 45 ปี จำนวน 171 ราย มาเป็นเวลานานนับ 10 ปี พบว่าสาเหตุของการอักเสบมีหลายชนิด แต่ละชนิดให้การรักษาแตกต่างกันไป ภูมิคุ้มกันชนิดใหม่ที่เป็นสาเหตุของการเกิด “โรคเส้นประสาทตาอักเสบ” ที่ทีมวิจัยค้นพบครั้งแรกของโลกนี้มีชื่อว่า “แอนตี้โจวัน” (Anti-Jo1 Associated-optic Neuritis) ซึ่งมีลักษณะการอักเสบมากขึ้นเรื่อยๆ จากตาข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง บางรายอาจใช้เวลานานหลายเดือน รักษาได้โดยการใช้สเตียรอยด์ และยากดภูมิเป็นเวลานาน

อย่างไรก็ดี ผศ. พญ. ปนิษฐา จินดาหรา ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “โรคเส้นประสาทตาอักเสบ” เป็นโรคซึ่งเกิดที่บริเวณเส้นประสาทที่เชื่อมต่อดวงตาและสมอง โดยมีอาการสายตาพร่ามัวในระยะแรกเริ่ม และแม้อุบัติการณ์ของ “โรคเส้นประสาทตาอักเสบ” จะพบเพียงไม่ถึง 2 รายต่อประชากร 1 แสนราย แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียการมองเห็นในระยะรุนแรงได้

นอกจากนี้ทางทีมวิจัยได้ทำการศึกษาในผู้ป่วย HIV ทำให้โลกแห่งวงการแพทย์ได้ประจักษ์ถึง “ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ” ของการมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น แต่อาจให้ผลที่ตรงกันข้าม

เพื่อเพิ่มความเฝ้าระวังในผู้ป่วยโรคดังกล่าว โดยทั่วไปผู้ป่วย HIV จะต้องดูแลตัวเองด้วยการตรวจสารภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือ “CD4” (Cluster of Differentiation 4) ให้มีค่าคงที่ระหว่าง 500 – 600 เซลล์ต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิลิตร จากการได้รับยาต้านไวรัส HIV อย่างสม่ำเสมอ

ในขณะที่จากการศึกษาในผู้ป่วย HIV โดยทีมวิจัยกลับพบว่า สาเหตุของการเกิดอาการแทรกซ้อนด้วย “โรคเส้นประสาทตาอักเสบ” ในผู้ป่วย HIV นอกจากจะเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อเนื่องด้วยภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงแล้ว แต่อาจเป็นได้จากกรณีที่ผู้ป่วย HIV มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นกว่าเดิมจนกลายเป็น “ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ” (Immune reconstitution inflammatory syndrome) ซึ่งสามารถรักษาตามอาการด้วยสเตียรอยด์พิจารณาใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีพยากรณ์โรคที่ดี

เพียงหมั่นสังเกตอาการด้วยตนเองโดยใช้มือปิดดวงตาแต่ละข้าง แล้วทดลองอ่านหนังสือและมองสีต่างๆ เพื่อสังเกตศักยภาพในการมองเห็นว่าลดลงหรือไม่ พร้อมเปรียบเทียบดูความแตกต่างในการมองเห็นของดวงตาแต่ละข้างด้วย จะทำให้ทุกคนสามารถห่างไกลความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นประสาทตาอักเสบในระยะรุนแรงได้

 

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม
เอกสารอ้างอิง www.dovepress.com/clinical-characteristics-of-hiv-associated-optic-neuritis

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก