CIMjournal
banner ผู้ป่วยหนัก 1

อัตราการเสียชีวิตขณะนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด STEMI ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019


การศึกษาเปรียบเทียบ ลักษณะทางคลินิก และอัตราการเสียชีวิตขณะนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด STEMI ในช่วงก่อน และช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการปฏิบัติงานพบว่า มีการลดลงของการวินิจฉัย การนอนโรงพยาบาล รวมไปถึงการเข้ารักษาด้วยการทำ Primary percutaneous coronary intervention (PPCI) ที่ล่าช้าในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด STEMI ซึ่งการที่มาโรงพยาบาลช้าอาจส่งผลต่อผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นในขณะนอนโรงพยาบาล เช่น มีภาวะน้ำท่วมปอด มีความดันโลหิตต่ำ ตลอดจนอัตราการเสียชีวิตที่มากขึ้น ดังนั้น ทีมผู้วิจัยจึงศึกษาเปรียบเทียบ อุบัติการณ์ ลักษณะทางคลินิก และอัตราการเสียชีวิตขณะนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด STEMI ในช่วงก่อน และช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019

จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วย STEMI ทุกรายที่เข้ามาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่ 1 กันยายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2564 โดยใช้วันที่ 14 มีนาคม 2563 เป็นวันเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น มีผู้ป่วย STEMI ทั้งหมด 513 คน พบว่าช่วงก่อนการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น STEMI 330 คน คิดเป็นร้อยละ 64 และในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น STEMI 183 คน คิดเป็นร้อยละ 36  โดยพบว่าในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการลดลงของจำนวนผู้ป่วย STEMI ถึงร้อยละ 45 พบว่า มีจำนวนการใช้ intra-aortic balloon pump (IABP) ที่มากขึ้น (ร้อยละ 23 vs. ร้อยละ 15, p-value = 0.004), มีค่า high-sensitivity troponin T level ที่สูงกว่า (11,150 ng/L vs. 5213 ng/L , p-value < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้เวลาที่นานกว่าของ time-to-diagnosis (59 vs. 7 นาที, p-value < 0.001), pain-to-first medical contact (FMC) time (250 vs. 214 นาที, p-value = 0.020), FMC-to-wire-crossing time (39 vs. 23 นาที, p-value < 0.001) และ pain-to-wire-crossing time (292 vs. 242 นาที, p-value = 0.005) ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนมีการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับอัตราการเสียชีวิตขณะนอนโรงพยาบาลพบว่าในช่วงก่อนที่มีการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 8  และในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 10 (p-value = 0.639)

Clinical-Characteristics-STEMI-1Kaplan–Meir survival curves แสดงอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลเปรียบเทียบในช่วงก่อน และช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

สรุปผลจากการศึกษาพบว่าในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการลดลงของจำนวนผู้ป่วย STEMI  และมีระยะเวลาก่อนที่คนไข้จะได้รับการทำ Primary percutaneous coronary intervention (PPCI) ที่ช้ากว่าช่วงก่อนมีการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ก็พบว่าอัตราการเสียชีวิตขณะนอนโรงพยาบาลไม่ได้เพิ่มขึ้น

 

เรียบเรียงโดย นพ. ปิโยรส เลิศสงวนสินชัย, รศ.นพ. สุพจน์ ศรีมหาโชตะ และคณาจารย์ของอนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจ และหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ข้อมูลจาก งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Biomedicines 2022, 10(11), 2671; https://doi.org/10.3390/biomedicines10112671

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก