CIMjournal

แนวโน้มการดูแลรักษาแผลที่แพทย์พยาบาลควรรู้


Startus-insights.com ได้ทำสำรวจถึงทิศทางที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ในการดูแลรักษาแผลจะนำมาใช้ในอนาคตอันใกล้ แน่นอนว่าเทคโนโลยีสำคัญที่แพทย์หลาย ๆ ท่านรู้จัก ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาวิธีการในการดูแลรักษาบาดแผลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มาดูกันว่ามีการพัฒนาไปอย่างไรบ้าง

  • การฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) หลาย ๆ บริษัทได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดที่ซับซ้อน ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีบาดแผลหรืออาการบาดเจ็บในช่วงฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น การใช้ความจริงเสมือนทั้ง virtual reality (VR) และ augmented reality (AR) มาพัฒนาคลินิกจำลองให้ผู้ป่วยคั้นเคยกับการดูแลบาดแผลถึงที่บ้าน และพัฒนาไปถึงการดูแลรักษาแบบทางไกล ขณะที่บางบริษัทมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่น โปรตีนถั่วเหลือง เพื่อใช้ทดแทนผิวหนังมนุษย์ในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ เป็นต้น
    .
  • การจัดการสารน้ำหรือหนอง (Exudate Management) มีการพัฒนาวัสดุปิดแผล เพื่อช่วยให้การสมานแผลมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดแรงบีบอัดของอุปกรณ์รัดแผล และควบคุมให้ถูกต้องสม่ำเสมอ เพื่อช่วยย่นระยะเวลาในการดูแลรักษาบาดแผล การคิดค้นเครื่องพ่นระดับอะตอม (Octet Medical Electrostatic Applicator, OMEA) ในการพ่นยาชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการดูแลบาดแผลโดยหลีกเลี่ยงการใช้ tube และ cord เป็นต้น
    .
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ (Regenerative medicine) มีการใช้เทคโนโลยีมากระตุ้นกระบวนการบำบัดตามธรรมชาติเร่งให้แผลที่เรื้อรังหายเร็วขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยลง เช่น มีการใช้สเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อสายสะดือและน้ำคร่ำมนุษย์ มาสร้างเนื้อเยื่อที่เสียหายของบาดแผลขึ้นใหม่ การ ผลิตเยื่อหุ้มเซลล์จากน้ำคร่ำ เพื่อการปลูกถ่ายผิวหนังซึ่งทำให้กระบวนการสมานแผลเร็วขึ้น
    .
  • การตรวจจับและควบคุมการติดเชื้อ (Infection detection & control) เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การตรวจและควบคุมการติดเชื้อทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้วัสดุปิดแผลที่สามารถปรับความชื้นของแผลให้เหมาะสมเพื่อให้แผลหายเร็ว และยังสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อีกด้วย การตรวจหาเชื้อ ณ. จุดดูแลผู้ป่วย (point-of-care, POC) ทำให้การจัดการเชื้อโรคทำได้ดีขึ้น การบำบัดแผลด้วยแรงดันลบ เป็นต้น
    .
  • การประเมินบาดแผลด้วยภาพ (Image-based wound assessment) ด้วยกล้องความละเอียดสูงและระบบประมวลผลช่วยให้ผู้ดูแลประเมินบาดแผลจากระยะไกลได้ เช่น การพัฒนาระบบตรวจสอบการสะท้อนแสงของรูม่านตาร่วมกับปัญญาประดิษฐ์สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บบริเวณสมองได้ การผลิตวัสดุปิดแผลอัจฉริยะที่อาศัยเทคโนโลยีนำแสง (optical technology) ช่วยระบุสัญญาณการติดเชื้อและประเมินบาดแผลได้
    .
  • เทคโนโลยีสวมใส่ได้ (Wearables) ช่วยให้การติดตามบาดแผลเรื้อรังง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น การสร้างอุปกรณ์สวมใส่ที่ยืดหยุ่นเพื่อลดอาการบาดเจ็บของนักกีฬา การผู้ผลิตอุปกรณ์ชีวกลศาสตร์ช่วยประเมินและจัดการความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกจากการยกที่ไม่เหมาะสม
    .
  • ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการบาดแผล (Wound management software) ลดปัญหาจากการใช้กระดาษบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับบาดแผล เช่น การพัฒนาระบบดิจิทัลสำหรับจัดการเอกสารการดูแลบาดแผลที่เข้าถึงผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนได้ การพัฒนาระบบคลังภาพอัจฉริยะที่ช่วยจัดระเบียบภาพบาดแผลเพื่อการวินิจฉัยและติดตามการรักษาจากระยะไกล โดยเฉพาะแผลเรื้อรัง แผลหลังการผ่าตัด เป็นต้น
    .
  • เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D printing) ตอบโจทย์การรักษาที่มีความจำเพาะต่อผู้ป่วยแต่ละราย สร้างวัสดุปิดแผล อุปกรณ์เทียม หรือวัสดุปลูกถ่ายที่มีความซับซ้อนด้วยต้นทุนที่ไม่แพงเกินไป ตัวอย่างเช่น การพัฒนาเครื่องพิมพ์สำหรับการโคลนเนื้อเยื่อทั้งชนิดแข็งและอ่อนของอวัยวะมนุษย์ การพัฒนาหมึกพิมพ์ชีวภาพแบบฝังในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ โดยใช้เซลล์ของผู้ป่วยแต่ละราย ช่วยลดอัตราการปฏิเสธอวัยวะปลูกถ่าย เป็นต้น
    .
  • วัสดุบูรณะขั้นสูง (Advanced Restorative Materials) อาศัยการเลียนแบบโครงสร้างเนื้อเยื่อทางชีวภาพผสมผสานกับโมเลกุลสังเคราะห์ เซลล์ต้นกำเนิด และส่วนประกอบอื่น ๆ เร่งการบำบัดบาดแผล เช่น การผลิตผ้าพันแผลจากไฮโดรเจลที่มีความยืดหยุ่นและละลายน้ำได้ การพัฒนาไฮโดรเจลสำหรับบรรจุยาซึ่งช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมยาผ่านผิวหนัง เป็นต้น
    .
  • กรรมวิธีต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial solution) ลดข้อจำกัดของยาต้านจุลชีพที่อาจใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อดื้อยา เช่น การพัฒนาการส่องไฟ (phototherapy) ที่ช่วยลดปริมาณแบคทีเรียบริเวณแผล การผลิตวัสดุปิดแผลต้านเชื้อแบคทีเรียซึ่งสามารถยับยั้งการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา เหมาะสำหรับแผลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน แผลไฟไหม้ แผลผ่าตัด เป็นต้น

แนะนำอ่านเพิ่มเติม
ทักษะที่จำเป็นสำหรับแพทย์ยุคดิจิทัล
แนวโน้มอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ

 

เรียบเรียงโดย ภก. ภูรี บุญช่วย และกองบรรณาธิการ
ข้อมูลจาก https://www.startus-insights.com/innovators-guide/wound-care-trends/

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก