CIMjournal
banner สูติ 1

ม.มหิดล คิดค้น Ultrasound Markers บ่งชี้โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดตั้งแต่ในครรภ์


พญ. ศนิตรา อนุวุฒินาวินรศ. พญ. ศนิตรา อนุวุฒินาวิน
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พญ. ธนาภา เรขาวศิน พินนิงตันพญ. ธนาภา เรขาวศิน พินนิงตัน
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

จากปัญหาที่พบในการวินิจฉัยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ได้นำไปสู่ความพยายามของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ที่มุ่งศึกษาค้นคว้าวิจัยจนสามารถคิดค้น “นวัตกรรมบ่งชี้อัลตร้าซาวด์” (Ultrasound Markers) ทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งมีความไวและความจำเพาะในอัตราสูง ทำให้โอกาสในการรอดชีวิตแรกเกิดสูงขึ้นไปด้วย

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศนิตรา อนุวุฒินาวิน และแพทย์หญิงธนาภา เรขาวศิน พินนิงตัน ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้บอกเล่าถึงความสำเร็จจากการคิดค้นนวัตกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นผลงานโดยทีมแพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ซึ่งเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องของภาควิชาฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ “Ultrasound in Obsterics and Gynecology” เมื่อเร็ว ๆ นี้

ระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกายมนุษย์โดยปกติจะรับเอาเลือดแดงที่ผ่านการฟอกแล้วจากปอด ก่อนส่งไปยังสู่หัวใจห้องบนซ้าย และล่างซ้าย จึงจะพร้อมออกไปหล่อเลี้ยงอวัยวะในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และจะส่งเลือดดำที่ใช้แล้วผ่านหัวใจห้องบนขวา ก่อนไหลลงสู่หัวใจห้องล่างขวา และส่งกลับไปยังปอดเพื่อฟอกให้เป็นเลือดแดงอีกครั้ง

ในขณะที่โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด TAPVR (Total Anomalous Pulmonary Venous Return) ซึ่งเป็นโจทย์ที่ใช้ในการทำ

วิจัยดังกล่าว เป็นอาการที่เกิดจากการไหลเวียนของเลือดที่ผิดปกติ ตั้งแต่กระบวนการฟอกเลือดแดงออกจากปอด แล้วไม่สามารถส่งต่อไปยังห้องบนซ้ายของหัวใจได้อย่างที่ควรเป็น จนอาจทำให้ทารกแรกเกิด “อาการเขียว” อย่างรุนแรง

โดยทีมแพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ค้นพบทางออกของโรคดังกล่าว จากการพยายามที่จะทำให้การวินิจฉัยทารกตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ด้วยวิธีการทำอัลตร้าซาวด์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อจะได้พบความผิดปกติก่อนพิจารณาส่งต่อถึงมือแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจเพื่อทำการผ่าตัดแก้ไขหลังคลอดได้อย่างทันท่วงที โดยการใช้ “นวัตกรรมบ่งชี้อัลตร้าซาวด์” (Ultrasound Markers) ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ทีมวิจัยได้ค้นพบ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรองหาความผิดปกติของโรคดังกล่าวตั้งแต่ในระยะก่อนคลอด อันจะทำให้ทารกได้รับการรักษาในสถานพยาบาลที่มีความพร้อมในการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจ

ซึ่งเป็นการนำค่าของระยะด้านหลังของหัวใจห้องบนซ้ายจนถึงหลอดเลือดแดงใหญ่ มาหารกับขนาดของหัวใจห้องบนซ้าย จนเกิดเป็นอัตราส่วนค่าหนึ่ง ซึ่งในทารกที่เป็นโรค TAPVR จะมีค่าอัตราส่วนดังกล่าวที่มากกว่าในทารกปกติ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สงสัยโรคนี้มากยิ่งขึ้น และจะมีการตรวจเพิ่มเติมต่อเพื่อให้การวินิจฉัยที่ชัดเจนต่อไป

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมายังพบการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด TAPVR ไม่บ่อยนัก เนื่องเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่พบน้อยมาก นอกจากนี้ ยังเป็นโรคให้การวินิจฉัยก่อนคลอดได้ยาก ได้น้อยกว่า 10% และยังมีการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวไม่มาก จึงทำให้มีรายงานที่เกี่ยวข้องออกมาไม่มากนัก

 

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม
เอกสารอ้างอิง Ultrasound in Obsterics and Gynecology https://obgyn.onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.1002/uog.26072

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก