เป็นที่ทราบกันว่าอาการหอบหืดในตอนกลางคืน ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันยังอาจทำให้อาการหอบหืดระหว่างวันแย่ขึ้นอีกด้วย ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอาการหอบหืดตอนกลางคืน เกิดขึ้นจากสาเหตุใด เช่น พฤติกรรมการนอน สิ่งแวดล้อมบริเวณที่นอน หรือเร็ว ๆ นี้มีงานวิจัยถึงผลของ Circadian system อาจเกี่ยวกับอาการที่แย่ลงในตอนกลางคืน
Dr. Frank Scheer, Dr. Steven Shea และทีมวิจัยได้ศึกษาผู้ป่วยโรคหอบหืด (Asthma) 17 ราย แบ่งเป็น 2 โปรโตคอล โดยจัดตามมาตรฐานการวิจัยเพื่อการทดสอบอิทธิพลของ Circadian system แยกจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมอื่น เช่น การหลับ/การตื่น ความมืด/แสงสว่าง เป็นต้น โดยติดตามการทำงานของปอด อาการหอบหืด การใช้ยาขยายหลอดลม สำหรับโปรโตคอลที่ 1 เป็นแบบ constant routine ผู้เข้าร่วมวิจัยจะตื่นตัวตลอด 38 ชั่วโมง ในท่าทางที่คงที่ อยู่ในสภาวะแสงสลัว พร้อมกับให้ของว่างที่เหมือนกัน ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ส่วนโปรโตคอลที่ 2 เป็นแบบ forced desynchrony ผู้เข้าร่วมจะถูกจัดรอบการหลับและตื่น ทุก ๆ 28 ชั่วโมง ตลอด 1 สัปดาห์ ในสภาวะแสงสลัว โดยพฤติกรรมทั้งหมดจะถูกจัดให้เหมือนกันทุกรอบ
ผลที่ได้พบว่า การทำงานของปอด แรงต้านในทางเดินหายใจได้รับอิทธิพลสูงจากระบบทางชีวภาพ (Circadian system) โดยจะสูงสุดในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งการให้ยาเพื่อลดอาการ (Rescue medication) จะอยู่ภายใต้ระบบทางชีวภาพด้วยเช่นกัน และอาการหอบหืดในตอนกลางคืนอาจสังเกตเห็นได้ยากเนื่องจากอยู่ในช่วงการนอนหลับ ในเวลาประมาณตี 4 นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อนำผลของระบบทางชีวภาพรวมกับผลของการนอนหลับ พฤติกรรมต่างๆ และสภาวะแวดล้อม อาจทำให้อาการหอบหืดแย่ลง
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การค้นพบนี้อาจช่วยในการพัฒนาแนวทางการรักษาใหม่ ๆ ยาใหม่ ๆ การปรับระยะเวลาของการใช้ยา การลดผลข้างเคียงลง โดยมุ่งเป้าไปที่การลดผลของ Circadian system ในการกำจัดการทำงานของปอด อย่างไรก็ตาม ยังมีความจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในระดับประชากรและการทดลองทางคลินิกในอนาคตต่อไป
ข้อมูล www.medscape.com