.
ดร. พญ. อารดา โรจนอุดมศาสตร์
นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ
ด้านเวชกรรม สถาบันประสาทวิทยา
สวัสดีปีใหม่ 2568 ค่ะ ขอให้ปีนี้เป็นอีกปีที่ดีสำหรับทุกท่านค่ะ สำหรับในส่วนของวารสารทางวิชาการนั้น มีบทความที่น่าสนใจหลายบทความด้วยกัน แต่ขอยกตัวอย่างเพียงบางส่วนค่ะ
หลาย ๆ ท่านน่าจะมีประสบการณ์ในการให้การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ Immunoglobulin G4-related pachymeningitis (IgG4-RP) ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีการตอบสนองต่อการรักษาที่แตกต่างกันไป ได้มี systematic review ในเรื่อง Clinical Presentation, Investigation Findings, and Outcomes of IgG4-Related Pachymeningitis A Systematic Review โดย Sara Terrim et al ซึ่งลงในวารสาร JAMA Neurol ตีพิมพ์ online เมื่อ November 18, 2024 (doi:10.1001/jamaneurol.2024.3947) ซึ่งสังเคราะห์ข้อมูลที่ประกอบด้วย case report 148 ฉบับ รวมผู้ป่วยเป็นจำนวน 208 คน พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (63.8%) เป็นเพศชาย ค่ามัธยฐาน (median) ของอายุ คือ 52 ปี ผู้ป่วยมักมาพบด้วยปัญหาปวดศีรษะและ cranial nerve dysfunction รอยโรคมักอยู่ในตำแหน่ง cavernous sinus และ middle fossa ในแง่การตอบสนองต่อการรักษา พบผู้ป่วย complete clinical improvement เพียงหนึ่งในสาม และพบ recurrent rate ประมาณ 40% ยาที่ใช้ส่วนใหญ่คือ glucocorticoid (85% ของผู้ป่วย) และมีการให้ rituximab เป็น maintenance ประมาณ 31% ของผู้ป่วย ซึ่งยังคงต้องติดตามการศึกษาในอนาคต ว่าการรักษาใดจะได้ผลดีสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้
สิ่งที่น่าติดตามในช่วงที่ผ่านมาอีกเรื่องคือ มีการค้นพบ autoantibody targeting the transcobalamin receptor (CD320) ในภาวะ autoimmune central vitamin B12 deficiency ซึ่ง Vitamin B12 เป็นสารอาหารที่สำคัญมากในการสร้างเม็ดเลือดแดงและการฟอร์ม myelin โดย Pluvinage et al (2024) ได้ค้นพบ autoantibody ต่อ transcobalamin receptor (CD320) โดยวิธี programmable phage immunoprecipitation sequencing ในผู้ป่วยที่มาด้วย progressive bilateral lower extremity pain, scanning speech, ataxia, และ tremor ซึ่ง anti-CD320 antibody นี้ทำให้ cellular uptake of cobalamin (B12) ลดลงทั้ง ๆ ที่ระดับ B12 ในเลือกปกติ แต่จะพบระดับ vitamin B12 ใน CSF ต่ำมาก การให้การรักษาโดยการให้ immunosuppressive treatment ร่วมกับ high-dose systemic vitamin B12 ทำให้ระดับ vitamin B12 ใน CSF เพิ่มขึ้น สัมพันธ์กับอาการทางคลินิกที่ mood และ cognitive function ดีขึ้น (Pluvinage JV et al,. Transcobalamin receptor antibodies in autoimmune vitamin B12 central deficiency. Sci Transl Med. 2024 Jun 26;16(753):eadl3758. https://doi:10.1126/scitranslmed.adl3758)
เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Kalbe, E., Folkerts, AK., Witt, K. et al. ได้ตีพิมพ์ German Society of Neurology guidelines for the diagnosis and treatment of cognitive impairment and affective disorders in people with Parkinson’s disease: new spotlights on diagnostic procedures and non-pharmacological interventions ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับผู้ป่วยในประเทศไทยได้ สามารถศึกษาได้ที่ J Neurol 271, 7330–7357 (2024). https://doi.org/10.1007/s00415-024-12503-0
ปัจจุบันการเรียนการสอนด้วยระบบ Tele-education ใช้กันมากขึ้นตั้งแต่มีการระบาดของโรค Covid-19 ซึ่งก็มีข้อดี ข้อเสีย เป็นที่ถูกจริตอาจารย์บางท่าน ไม่ถูกจริตอาจารย์บางท่าน ซึ่ง Matthew W. Schelke ได้ให้ความเห็นไว้ใน New England Journal of Medicine หัวข้อ Face to Face – A Neurologist’s Perspective on Teleeducation ตีพิมพ์เมื่อ December 14, 2024 (N Engl J Med 2024;391:2286-2287 DOI: 10.1056/NEJMp2408924) ไว้อย่างน่าสนใจ กล่าวคือ ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ขึ้นกับ ostensive signals หรือ primary non-verbal clue เช่น inter-personal interaction และเน้นความสำคัญของ neural pathway ที่เชื่อมต่อ ostensive signals กับ medial prefrontal cortex และแนะนำว่า ควรมีบาง session โดยเฉพาะ session แรกที่ควรเป็นแบบ in-person หากสนใจอ่านเพิ่มเติมได้ที่ N Engl J Med 2024;391:2286-2287 DOI: 10.1056/NEJMp2408924 ค่ะ
สำหรับการประชุมวิชาการ ในเดือนมกราคม – เมษายนนี้ มีการประชุมวิชาที่หลายท่านรอคอย ซึ่งคือการประชุมวิชาการประจำปี พ.ศ. 2568 สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย รูปแบบการประชุม Onsite โดยมี Theme: Advanced Diagnostic investigations in neurology ในวันที่ 4 – 7 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุมพญาไท 1 – 2 ชั้น 6 โรงแรมอิสติน พญาไท กรุงเทพฯ อย่าพลาดกันนะคะ
งานประชุมสาขาประสาทวิทยาที่น่าสนใจ เดือน ม.ค. – เม.ย. 2568.
• งานประชุม Siriraj Neuroscience Annual Conference ครั้งที่ 14 ภายใต้หัวข้อ “The Neurodialogue: Conversations on Curiosity” | วันที่ 22 – 24 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมวีกิจ วีรานุวัตติ์ ตึกอัษฎางค์ ชั้น 3 – 4 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
• การประชุมวิชาการ Neurology for non-Neurologist ครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “Explore the dark universe of Neurology” | วันที่ 30 – 31 มกราคม 2568 ณ อาคารอำนวยการ ชั้น 3 สถาบันประสาทวิทยา
• การประชุมวิชาการประจำปี 2568 ครั้งที่ 14 สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ “What is new in Dementia Arena” | วันที่ 20 – 21 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุม Arnoma Grand Ballroom โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ
• การประชุมวิชาการประจำปี พ.ศ. 2568 สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ “Advanced Diagnostic investigations in neurology” | วันที่ 4 – 7 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุมพญาไท 1 – 2 ชั้น 6 โรงแรมอิสติน พญาไท กรุงเทพฯ