การศึกษา TRAILBLAZER-ALZ2 พบว่า การใช้ donanemab ในโรคอัลไซเมอร์ระยะต้นสามารถชะลอสมองเสื่อม และลดการสะสมของ amyloid protein ได้มากกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่ผลแทรกซ้อนจากยาไม่ต่างจากยาหลอก
พยาธิกำเนิดสำคัญของโรคอัลไซเมอร์ คือ การสะสมตัวของโปรตีน beta-amyloid ในสมอง มีการศึกษาและยาที่ออกแบบมาลดการสร้าง หรือการสะสมของ beta-amyloid นี้หลายชนิด Donanemab เป็น monoclonal antibody ที่ช่วยลดการสะสม และเพิ่มการสลายของ beta amyloid ที่ได้ผลในการทดลองระยะสอง จึงมาทำการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะต้นที่การสะสมไม่มาก ว่าจะมีประโยชน์ในทางคลินิกหรือไม่
การศึกษา TRAILBLAZER-ALZ2 เป็นการศึกษาแบบ RCTs ศึกษาใน 8 ประเทศ คัดเลือกผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยอัลไซเมอร์ระยะแรกจากอาการ และระบบคะแนน MMSE ร่วมกับมีผลการตรวจวัดโปรตีน amyloid ในสมอง และความผิดปกติจาก tau protein ด้วยการทำ PET scan เพื่อศึกษาว่าการใช้ยา donanemab 1,400 มิลลิกรัมต่อเดือน เทียบกับยาหลอก เป็นเวลา 72 สัปดาห์ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของระดับคะแนนคุณภาพของโรคอัลไซเมอร์ (iADRS : integrated Alzheimer Disease Rating Scale) ที่เป็นผลรวมของระบบคะแนนย่อยวัดผลของอัลไซเมอร์ 13 แบบรวมกัน ระดับคะแนนจาก 0 – 144 คะแนนยิ่งมากแสดงว่าสมรรถนะทางการไม่ดี
มีผู้ป่วยเข้ารับการศึกษา 1,736 ราย กลุ่มที่ได้ donanemab 860 ราย และได้ยาหลอก 876 ราย อายุเฉลี่ยที่ 74 ปี กว่า 90% เป็นผู้ป่วยเชื้อชาติผิวขาว ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งที่เคยได้รับยาอัลไซเมอร์มาก่อน ระดับคะแนน iARDS เฉลี่ยที่ 105 คะแนนและระดับ amyloid ที่ 103 centriloid
ผลการศึกษาหลัก พบว่า ในกลุ่มพยาธิสภาพไม่รุนแรง ระดับคะแนน iADRS ลดลงมากกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ หรือไม่รุนแรง มีระดับคะแนน iADRS ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ 3.25 คะแนน หรือชะลอความเสื่อมลงได้ 35.1% เมื่อเทียบกับยาหลอก ส่วนกลุ่มพยาธิสภาพรวมทั้งรุนแรงและไม่รุนแรง ระดับคะแนน iADRS ลดลงมากกว่ายาหลอกอย่างนัยสำคัญที่ 2.92 คะแนน หรือชะลอความเสื่อมลงได้ 22.3% เมื่อเทียบกับยาหลอก
การวัดผล amyloid plaque level พบว่า กลุ่มที่ได้ donanemab ลดลง 87 centriloid เทียบกับยาหลอกที่ลดลงเพียง 0.67 centriloid ส่วนผลข้างเคียงของยาเกิดประมาณ 85% แต่ไม่รุนแรง ส่วนมาก คือ บวมแดงตรงจุดฉีด
การรักษาอัลไซเมอร์แบบมุ่งเป้าที่ amyloid/tau โดยจัดการที่กลไกการสร้างและสะสมโปรตีน สามารถชะลอโรคได้จริง เป็นการสนับสนุนพยาธิกำเนิดโรคและแนวทางการป้องกันรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ทำให้ประสิทธิภาพทางคลินิกออกมาดี และผลข้างเคียงต่ำมาก น่าจะเป็นแนวทางการรักษาสำคัญในอนาคต
เรียบเรียงโดย นพ. ชาคริต หริมพานิช
ข้อมูลจาก JAMA. 2023 Aug 8;330(6):512-527. doi: 10.1001/jama.2023.13239. PMID: 37459141; PMCID: PMC10352931.