ตามการศึกษาครั้งแรกของโลกในครั้งนี้ พบการแพ้อาหารตั้งแต่ยังเป็นทารกมีความเชื่อมโยงกับโรคหอบหืด และการทำงานของปอดลดลงต่อมาในวัยเด็ก
งานวิจัยนี้นำโดยสถาบันวิจัยเด็กเมอร์ด็อก และตีพิมพ์ใน The Lancet Child & Adolescent Health พบว่า การแพ้อาหารในวัยเด็กมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของทั้งสองอย่างโรคหอบหืด และการเติบโตของปอดลดลงเมื่ออายุหกขวบ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการแพ้อาหารในวัยทารกกับโรคหอบหืด และการทำงานของปอดที่ลดลงในภายหลังในวัยเด็ก งานวิจัยทำขึ้นในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ศึกษาทารก 5,276 คน ในชื่อการศึกษา “ HealthNuts” เป็นการทดสอบสารก่อภูมิแพ้โดยการฉีดใต้ผิวหนัง เป็นอาหารทั่วไป รวมถึงถั่วลิสงและไข่ และทดสอบการแพ้อาหารโดยการรับประทาน เมื่ออายุได้ 6 ขวบ เด็ก ๆ จะได้รับการติดตามผลการทดสอบการแพ้อาหาร และการทำงานของปอดเพิ่มเติม การศึกษาพบว่า เมื่ออายุได้ 6 ปี เด็กร้อยละ 13.7 ได้รับการวินิจฉัยโรคหอบหืด ทั้งนี้ พบว่า ทารกที่มีอาการแพ้อาหารมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหอบหืดมากกว่าเกือบสี่เท่า เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่มีอาการแพ้อาหาร ขณะอายุ 6 ปี
รองศาสตราจารย์ปีเตอร์ส กล่าวว่า “การแพ้อาหารในวัยทารก ไม่ว่าเมื่อโตขึ้นจะหายหรือไม่ก็ตาม มักมีความเกี่ยวข้องกับผลการหายใจที่ไม่ดีในเด็ก” ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการที่การเจริญของปอดในวัยเด็กที่ลดลง ซึ่งสัมพันธ์กับสุขภาพปัญหาในวัยผู้ใหญ่ รวมถึงภาวะระบบทางเดินหายใจและหัวใจ เธอกล่าว พัฒนาการของปอดมีผลกับส่วนสูงและน้ำหนักของเด็ก เด็กที่แพ้อาหารก็น้ำหนักและส่วนสูงน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการแพ้ สิ่งนี้สามารถอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างการแพ้อาหาร และการทำงานของปอด นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกี่ยวกับการแพ้อาหารและโรคหอบหืด ที่สำคัญควรติดตามการเจริญเติบโตของทารกที่แพ้อาหาร ทีมวิจัยส่งเสริมให้เด็กที่มีอาการแพ้อาหารควรอยู่ในความดูแลของนักโภชนาการ เพื่อให้สามารถได้รับสารอาหารได้เพื่อรองรับการเติบโตที่ดี โดยการแพ้อาหารส่งผลกระทบต่อทารกถึงร้อยละ 10 และร้อยละ 5 ของเด็กและวัยรุ่น
จากข้อมูลงานวิจัยนี้เป็นอีกหนึ่งข้อมูลสำหรับกุมารแพทย์ ในการดูแลและติดตามผู้ป่วยเด็กทารกที่มีอาการแพ้อาหารอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดแก่ผู้ป่วยในระยะยาว
- The Lancet Child & Adolescent Health, 2023; DOI: 10.1016/S2352-4642(23)00133-5
- sciencedaily.com/releases/2023/07/230725123006.htm