งานวิจัย พบว่า การเลี้ยงสัตว์เสี้ยงช่วยชะลอเรื่องความจำเสื่อมได้ในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ลำพัง
โรคสมองเสื่อมตามวัยเป็นภาวะตามธรรมชาติของผู้สูงอายุ เมื่อสังคมโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเนื่องจากประชากรมีอายุขัยที่ยาวนานขึ้น มีการทำนายว่าจากประชากรโรคสมองเสื่อมในปี ค.ศ. 2019 จำนวน 57 ล้านราย จะเพิ่มขึ้นเป็น 153 ล้านราย ในปี ค.ศ. 2050 และโรคสมองเสื่อมไม่ได้มีปัญหาเฉพาะการหลงลืมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันที่ลดลงอีกด้วย ซึ่งมีผลกระทบไปถึงการเป็นภาวะพึ่งพิงต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นเมื่ออัตราการเกิดลดลง ประชากรในวัยทำงานลดลง จะมีผู้สูงอายุที่ต้องอยู่ลำพังมากขึ้น จากสถิติพบว่า ในปี ค.ศ. 2021 มีผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ลำพังสูงขึ้นถึงเกือบ 30% ทั้งในประเทศสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ในงานวิจัยก่อนหน้านี้ พบว่า การอาศัยอยู่เพียงลำพังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงยังไม่เคยมีข้อมูลมาก่อนว่าสามารถช่วย หรือทดแทนการอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวได้หรือไม่
Yanzhi Li และคณะ ได้รวบรวมข้อมูลจาก the English Longitudinal Study of Aging ในระหว่าง มิ.ย. 2010 – ก.ค. 2011 และ มิ.ย. 2018 – ก.ค. 2019 ซึ่งรวมผู้เข้าร่วมงานวิจัยอายุเฉลี่ย 66.3 ปี จำนวน 7,945 ราย ผลพบว่า ผู้สูงอายุซึ่งอาศัยอยู่เพียงลำพังแต่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง จะมีแนวโน้มสมองเสื่อมในอัตราที่ช้ากว่าผู้ที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ทั้งความสามารถในการใช้ภาษาโดยรวม ความสามารถในการจดจำภาษา และความคล่องของการพูด แต่ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้อื่นไม่ว่าจะเลี้ยงสัตว์หรือไม่
การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงช่วยชะลอการลดลงของความสามารถในการใช้ภาษาในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวได้ หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตที่ตอบสนองได้อาจช่วยชะลอความเสื่อมของสมองได้
- https://www.mims.com/specialty/topic/pets-may-delay-cognitive-decline-for-older-adults-living-alone
- https://jamanetwork.com/journals/jamanetworkopen/fullarticle/2813138