CIMjournal
โลกการเงินเปลี่ยน ต้องเร่งปรับตัว

Wealth: แบงค์ชาติและตัวแทนสถาบันการเงิน เตือนโลกการเงินเปลี่ยน ต้องเร่งปรับตัว


การทำวิชาชีพแพทย์ หรืออาชีพใดก็ตามนอกเหนือจากเรื่องเฉพาะทางแล้ว ยังมีประเด็นทั่วไปที่ควรสนใจอีกมาก สถานการณ์ปัจจุบันนอกจากเรื่องของเทคโนโลยีแล้ว ยังมีเรื่องที่ต่อเนื่องกันและมีความใกล้ตัวอยู่คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงิน ทีมงาน
CIM ขอเรียบเรียงบทความจากเว็บไซต์ Salika กับเนื้อหาที่มีอยู่ก่อนหน้าในเว็บถึงสถานการณ์ทางการเงินที่กำลังจะเปลี่ยนไป แล้วสรุปเป็นประเด็นหลัก ๆ ดังนี้

  • เทคโนโลยี Digital เข้ามามีบทบาทหลัก ๆ ทางภาคการเงิน เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าตั้งแต่นี้ไป เทคโนโลยีทางด้านดิจิตัลจะเข้ามีบทบาทในเกือบทุกอุตสาหกรรม ภาคการเงินก็เช่นเดียวกัน Digital banking ได้เข้ามาทำให้ภูมิทัศน์ทางการเงินเปลี่ยนไป การทำธุรกรรมทางการเงินจะทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน และเวลาใด จะเห็นได้จากในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา บริการ E-Payment เติบโตถึง 15 เท่า ขณะที่วงเงินผ่านระบบ E-Banking เพิ่มขึ้นถึง 100 เท่า
    .
  • ก่อให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ ๆ ผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินใหม่ ๆ จากเทคโนโลยีทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ภาคการเงินและธุรกิจธนาคารจะเจอกับคู่แข่งขันรายใหม่ๆ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ โดยคู่แข่งในคราวนี้อาจเป็นคู่แข่งที่มาจากนอกวงการ เช่น คู่แข่งจากธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจค้าปลีก/ส่งขนาดใหญ่ คู่แข่งข้ามชาติ หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ธนาคารเดิมอาจไม่มีความชำนาญ เช่น เงินดิจิตัล แพลตฟอร์มการเงินดิจิตัล เป็นต้น
    .
  • ภาคการเงินหรือธนาคารพาณิชย์ต้องเร่งปรับตัว นับจากนี้ไปอนาคตของธนาคารจะถูกขับเคลื่อนด้วย 4 ปัจจัยสำคัญคือ 1) วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคโควิด19, ภาวะโลกร้อน, การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์การเงินโลก 2) เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะทำให้สถาบันการเงินเข้าถึงลูกค้าได้ในต้นทุนที่ต่ำลง 3) พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจาก Mobile Banking และ Digital Banking และ 4) กฎระเบียบการกำกับดูแลที่จะเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเข้ามาของ CBDC ที่จะทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลเติบโตในระบบธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น.
    โดยแต่ละธนาคารจะต้องประเมินจุดแข็งจุดอ่อน เพื่อกำหนดรูปแบบการบริการ ผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินที่มีความเหมาะสมต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของตนเอง ตัวอย่างเช่น บางธนาคารยังทำโมเดลธุรกิจแบบเดิม แต่ปรับใช้เทคโนโลยีมี e-Invoice หรือ e-Signature บางธนาคารมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆร่วมกับพันธมิตรนอกวงการ หรือบางธนาคาร เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ล่าสุดเลือกปรับตัวเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ทำธุรกิจธนาคาร ที่นอกจากจะทำธุรกิจธนาคารแบบเดิมแล้ว จะเข้าไปทำในธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็น New Blue Ocean อีกด้วย
    .
  • ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน 4 เรื่องใหญ่ ๆ คือ 1) More open data เป็นการเปิดให้คนเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น ขอสินเชื่อสะดวกขึ้น 2) More open competition การอำนวยความสะดวกให้ธนาคารปรับตัวและแข่งขันกันได้อย่างเต็มที่ 3) More open infrastructure การปรับโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับรูปแบบการบริการที่เปลี่ยนไป และ 4) Digital currency การปรับตัวรองรับการเติบโตของการเงินแบบดิจิตัล

ทั้งนี้ประเทศไทยมีโจทย์เฉพาะหน้าคือ ความอยู่รอดของธุรกิจและครัวเรือนที่ต้องฝ่าวิกฤติให้ผ่านในช่วงนี้ กับปัญหาที่ประเทศยังแก้ไม่ตกคือ จุดเด่นหรือขีดความสามารถของประเทศที่จะใช้ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนใหม่ๆ ธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาในประเทศ ไม่นับภาระหนี้สินที่ประเทศต้องเริ่มหาเงินมาชดใช้ในเวลาอันใกล้นี้ด้วย  

 

เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการ
ขอขอบคุณข้อมูลจากบทความ “สัญญาณเตือนแบงค์ชาติ โลกการเงินเปลี่ยน ธนาคารไหนไม่ปรับตัวอาจไม่ได้ไปต่อ” เว็บไซต์ www.salika.co
ภาพประกอบจาก www.bot.or.th

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก