CIMjournal
n25-1

ไข้ ‘โอโรพุช’ ระบาดบราซิล ควรพบแพทย์หากป่วยหลังกลับจากพื้นที่ระบาด

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เฝ้าระวัง ‘ไข้โอโรพุช (Oropouche fever)’ หลัง สธ. ประเทศบราซิลรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคนี้ครั้งแรก 2 ราย แนะนำผู้เดินทางกลับจากบราซิล หรือประเทศที่มีการระบาดรีบพบแพทย์หากมีอาการป่วยพร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง อย่างไรก็ตาม โรคนี้ป้องกันได้ด้วยการป้องกันริ้นกัด  

31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัด สธ. กล่าวถึงรายงานการพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้โอโรพุชเป็นครั้งแรกของโลกที่ประเทศบราซิล 2 ราย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 โดยผู้เสียชีวิตทั้งสองรายเป็นเพศหญิง อายุน้อยกว่า 30 ปี อาศัยในรัฐบาเอีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล มีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออกเดงกี่ที่อาการรุนแรง ทั้งนี้ พบผู้ป่วยโรคนี้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2498 โดยพบมากที่สุดที่บราซิล รวม 7,236 ราย (ข้อมูล ณ 23 กรกฎาคม 2567) นอกจากนี้ ยังมีรายงานผู้ป่วยในโบลิเวีย เปรู คิวบา และโคลอมเบีย

นพ.โอภาส ชี้แจงว่า ประเทศไทยมีระบบการเฝ้าระวังโรคติดต่อ และมีประสบการณ์จัดการโรคติดต่อต่างประเทศ อาทิ ฝีดาษวานร โควิด 19 สำหรับโรคไข้โอโรพุชนี้ กรมควบคุมโรคติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด ยังไม่มีรายงานโรคนี้ในไทยและพาหะนำโรคซึ่งเป็นริ้นชนิด Culicoides paraensis  ทั้งนี้ แนะนำให้ประชาชนที่เดินทางไปประเทศที่มีรายงานการระบาดในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้สวมเสื้อและกางเกงขายาว พร้อมทาโลชั่นกันยุงเพื่อป้องกันยุงและริ้น และกรณีที่เดินทางกลับแล้วมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะหรือกล้ามเนื้อ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ หรือรีบไปพบแพทย์

แหล่งที่มา: https://pr.moph.go.th//online/index/news/301069

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก