CIMjournal
banner food 9

ความถี่ในการเติมเกลือกับความเสี่ยงในการเกิดโรคไตเรื้อรัง


พญ. ศศิธร คุณูปการพญ. ศศิธร คุณูปการ
อายุรแพทย์โรคไต
โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

 

การบริโภคโซเดียมมีความสําคัญต่อสุขภาพเพราะโซเดียมทําหน้าที่ทางสรีรวิทยาต่าง ๆ รวมถึงการรักษาสมดุลของของเหลวและการดูดซึมสารอาหาร ความสัมพันธ์ของการบริโภคโซเดียมในปริมาณที่มากเกินพอดีต่อความดันโลหิตสูงได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย อีกทั้งความดันโลหิตสูงยังมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคไตเรื้อรังที่เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน ความดันโลหิตสูงมักพบร่วมกับโรคไตเรื้อรังและมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคโซเดียมที่มากเกิน แม้ว่างานวิจัยจํานวนมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ศึกษาความสัมพันธ์ของโซเดียมในอาหารกับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง แต่ส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมวิจัยมักได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือภาวะเรื้อรังอื่น ๆ มาก่อน และในไม่นานมานี้มีการศึกษาพบว่าความถี่ในการเติมเกลือลงในอาหารที่สูงขึ้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือด การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและโรคเบาหวานชนิดที่ 2

การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความถี่ที่รายงานด้วยตนเองในการเติมเกลือในอาหารกับโรคไตวายเรื้อรังในผู้ใหญ่โดยอาศัยข้อมูลของ UK Biobank (UKB) โดยมีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 465,288 คน (ค่าเฉลี่ย [SD] อายุ 56.32 [8.08] ปี เพศหญิง 255,102 คน [54.83%] เพศชาย 210,186 คน [45.17%]) บุคคลที่มีการรายงานความถี่ในการเติมเกลือลงในอาหารสูง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เชื้อชาติเอเชีย ผิวดํา จีน หรือหลากหลายเชื้อชาติ และมีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่าและ eGFR พื้นฐานที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังพบความชุกของโรคเบาหวานหรือ CVD ที่สูงขึ้นที่ baseline เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รายงานความถี่ที่ต่ำกว่า

จากการติดตามผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นระยะเวลาเฉลี่ย 11.8 ปี ผู้วิจัยพบอุบัติการณ์ของโรคไตเรื้อรังจำนวน 22,031 ราย และผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีความถี่ในการเติมเกลือลงในอาหารสูงมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของโรคไตเรื้อรังเมื่อเทียบกับผู้ที่รายงานว่าไม่เคยหรือไม่ค่อยมีการเติมเกลือลงในอาหาร (P for trend < .001)

กล่าวโดยสรุปการศึกษานี้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของความถี่ที่รายงานด้วยตนเองในการเติมเกลือในอาหารกับความเสี่ยงในการเกิดโรคไตเรื้อรัง ซึ่งสนับสนุนในการลดการบริโภคเค็มเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคในอนาคต อย่างไรก็ดียังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อรองรับผลการศึกษาในครั้งนี้

 

เอกสารอ้างอิง
  • Tang R, Kou M, Wang X, et al. Self-Reported Frequency of Adding Salt to Food and Risk of Incident Chronic Kidney Disease. JAMA Netw Open. 2023;6(12):e2349930. doi:10.1001/jamanetworkopen.2023.49930

งานวิจัยฉบับเต็ม
https://jamanetwork.com/journals/jamanetworkopen/fullarticle/2813410

 

 

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก