CIMjournal
banner vaccine child

คำแนะนำเรื่องความปลอดภัยและประโยชน์ของวัคซีนเอชพีวี



ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

Logo PIDST
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

 

 

4 กุมภาพันธ์ 2568

“มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งอีกหลายชนิด ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเอชพีวี ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย

วัคซีนเอชพีวี เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งอวัยวะเพศ มะเร็งในช่องปากและลำคอ รวมทั้งหูดหงอนไก่ ได้เกือบทั้งหมด และเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูง องค์การอนามัยโลกจึงให้คำแนะนำให้ทุกประเทศทั่วโลก จัดสรรวัคซีนนี้ให้วัยรุ่นในประเทศของตนอย่างทั่วถึง จากข้อมูลการใช้วัคซีนทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการฉีดวัคซีนไปแล้วมากกว่า 600 ล้านโดส และได้มีการเฝ้าระวังผ่านระบบรายงานผลข้างเคียงของวัคซีน ในหลายประเทศ พบว่า ผลข้างเคียงที่พบส่วนใหญ่เป็นอาการเล็กน้อย เช่น ปวด บวม หรือผื่นแดงบริเวณที่ฉีด และอาการแพ้รุนแรงพบได้น้อยมาก (ประมาณ 1.7 รายต่อการฉีดวัคซีน 1 ล้านโดส) องค์การอนามัยโลกได้ยืนยันความปลอดภัยของวัคซีนนี้โดยการตีพิมพ์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 20171 และมีการศึกษายืนยันได้ว่า วัคซีนไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการต่าง ๆ ที่มีการพูดถึง เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วเมื่อเปลี่ยนท่า (orthostatic tachycardia syndrome) ภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง (chronic fatigue syndrome) ภาวะเจ็บปวดเฉพาะที่ (complex regional pain syndrome)2 ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้ง อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย ได้มีการแนะนำให้ใช้วัคซีนเอชพีวี ในวงกว้าง

สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรให้มีการฉีดวัคซีนเอชพีวี สำหรับเด็กนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 และมีการขยายการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนทั่วไปถึงอายุ 20 ปี เพื่อป้องกันมะเร็งที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 7 ปี โดยมีการติดตามข้อมูลด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง และยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการฉีดวัคซีนเอชพีวีในประเทศไทย

ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวการฟ้องร้อง บริษัทผู้ผลิตวัคซีนเอชพีวี ในประเทศสหรัฐอเมริกา3 มีผู้นำข่าวมาเขียนเผยแพร่ทางโซเชียล ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อน มีความกังวลและหวาดกลัวการฉีดวัคซีนเอชพีวี และอาจส่งผลให้ปฏิเสธการรับวัคซีนที่มีประโยชน์นี้

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ขอยืนยันในความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน แนะนำให้ประชาชนรับวัคซีนป้องกันเอชพีวีต่อไป


คำถามที่พบบ่อย

  1. ควรให้บุตรหลานฉีดวัคซีนเอชพีวี ต่อไปหรือไม่
    ตอบ แนะนำให้มีการฉีดอย่างครอบคลุมตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขและสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เพื่อให้คนไทยปลอดภัยจากโรคและมะเร็งหลายชนิดที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ เอชพีวี
  2. หากเคยฉีดวัคซีนเอชพีวีมาแล้วหนึ่งเข็ม ควรฉีดต่อหรือไม่
    ตอบ ควรฉีดต่อให้ครบตามกำหนด
  3. การให้วัคซีนเอชพีวีที่โรงเรียน มีความปลอดภัยหรือไม่
    ตอบ มีความปลอดภัย โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปฉีดให้ พร้อมมาตรการเฝ้าระวังและการดูแลรักษาในกรณีที่อาจเกิดอาการแพ้หรืออาการข้างเคียง
  4. ถ้าฉีดวัคซีนเอชพีวีไปแล้ว เกิดมีอาการใจสั่น ควรทำอย่างไร
    ตอบ ให้นั่งหรือนอนพักหลังฉีด ส่วนใหญ่อาจเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองความเครียดจากการฉีดวัคซีน เนื่องจากการฉีดวัคซีนอาจมีความเจ็บปวดได้
เอกสารอ้างอิง
  1. https://www.who.int/groups/global-advisory-committee-on-vaccine-safety/topics/human-papillomavirus-vaccines/safety
  2. https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC6518966/
  3. https://www.lawsuit-information-center.com/gardasil-hpv-vaccine-lawsuit.html

ขอขอบคุณ : ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย

 

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก