CIMjournal
banner healthcare

Future: เทคโนโลยีที่ต้องรู้ ก่อนส่งผลกระทบทุกอาชีพ


การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ ของโลกโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม  ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมการให้บริการ วันนี้มาดูกันว่าเทคโนโลยีที่ต้องรู้ และจะส่งผลกระทบถึงแพทย์ในการทำงานและการใช้ชีวิต มีอะไรบ้าง
 

  • เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติ (AI & Automation) เป็นเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบเกือบทุกอุตสาหกรรมในเกือบทุกขั้นตอน โดยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่เก็บรวบรวมไว้ คล้ายกับสมองของมนุษย์ โดยข้อมูลที่วิเคราะห์ได้จะถูกนำไปช่วยในการทำงานในแต่ละขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้ AI ในการพยากรณ์ความเสี่ยง การจัดลำดับความเร่งด่วน การให้บริการแบบเฉพาะราย การตรวจสอบความผิดพลาด การจัดการเรื่องความปลอดภัย เป็นต้น
  • เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Medical Things, IoMT) เป็นเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อขั้นสูง โดยเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ปฏิบัติงาน ที่บันทึกค่าที่ต้องการ เข้ากับเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มการใช้งานให้หลากหลายมากขึ้น อาทิ การเชื่อมต่อเพื่อให้บริการรักษา หรือการผ่าตัดแบบทางไกล การเชื่อมต่อเพื่อควบคุมการเปิดปิดและขับเคลื่อนยานยนต์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงงาน การเชื่อมต่อเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของหลายอุตสาหกรรม เป็นต้น
  • เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainability) เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อทดแทนการใช้พลังงานที่ก่อให้เกิดปัญหากับสภาพแวดล้อมของโลกในอนาคต เช่น เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานไฟฟ้าและไฮโดรเจนสีเขียว โดยเป็นเทคโนโลยีที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประหยัดต้นทุนด้านพลังงานและบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีรถ EGV เทคโนโลยี Aircarbon เทคโนโลยี เทคโนโลยี เป็นต้น
  • เทคโนโลยีทางชีวภาพและสุขภาพ (Biotech & Health tech) โดยเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นงานทางด้านสุขภาพ จะมุ่งเน้นการตรวจจับโรค การประเมินความเสี่ยง การตรวจวินิจฉัย การรักษา การติดตามและประเมินการรักษา ตัวอย่างเช่น การปรับแต่งยีนเพื่อรักษาโรคทางพันธุกรรม ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก นอกจากนั้นยังมีเทคโนโลยีทางชีวภาพที่มุ่งเน้นการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ การปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นต้น
  • เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมและหุ่นยนต์ขั้นสูง (Advanced engineering & robotics) มีการนำเทคโนโลยีด้าน Automation, Machine learning และ AI มาพัฒนาทำให้เกิดหุ่นยนต์ขั้นสูงที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ โดยเน้นการทำงานที่มนุษย์ทำลำบาก โอกาสคลาดเคลื่อนสูง ให้มีความแม่นยำ ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หุ่นยนต์ทำงานในห้องปฏิบัติการ หุ่นยนต์ช่วยบริหารจัดการสินค้าในคลัง หรือยานพาหนะไร้คนขับ เป็นต้น
  • เทคโนโลยีในการประมวลผลขั้นสูง (Advanced computing) ซึ่งมีทั้งการประมวลผลแบบ Edge, Quantum และ Neuromorphic computing ทั้งนี้เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูลขนาดมหาศาล ที่มีความซับซ้อนและมีรูปแบบที่หลากหลาย สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อการใช้งาน ทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้น ตัวอย่างทางการแพทย์เช่น การประมวลผลกระทบต่อหัวใจหลังการผ่าตัด การวิเคราะห์ข้อมูลทาง Genomic ของมะเร็งเพื่อวางแผนการรักษา หรือทางด้านอื่นได้แก่ การประมวลผลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องบิน 787 หรือการประมวลผลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของจักรยาน  TREK เป็นต้น
  • เทคโนโลยีการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed ledger technology ,DLT) เป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่ใช้หลักการ Cryptography ร่วมกับกลไก Consensus โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้นจะสามารถทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยาก ช่วยเพิ่มความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ เช่น การสอนหุ่นยนต์ทางการแพทย์เพียงตัวเดียว และใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการกระจายความรู้ไปสู่หุ่นยนต์ตัวอื่นๆ ได้ ทำให้ลดระยะเวลาการป้อนคำสั่งให้กับหุ่นยนต์ทุกตัว การนำมาใช้ของธนาคารทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศ ลดเวลาจาก 1 – 3 วัน เหลือ 20 วินาที หรือการทำ Smart contract ไปจนถึงการเปลี่ยนรูปแบบการซื้อขาย เป็นระบบ Digital ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
  • เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ (Material science) เป็นเทคโนโลยีในการผลิตวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถนำไปผลิตวัสดุที่เป็นประโยชน์ในหลายอุตสาหกรรมได้ เช่น การใช้นาโนเทคโนโลยี ผลิตวัสดุชีวภาพเพื่อทดแทนวัสดุจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการปล่อยคาร์บอน หรือการผลิตวัสดุ ที่มีคุณสมบัติสามารถนำส่งยาระดับนาโน สำหรับยามะเร็ง ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะช่วยลดผลข้างเคียงต่อเซลล์อื่น การผลิตวัสดุเทียมหนังจากพืช (Plant Skin) เพื่อทดแทนหนังสัตว์ เป็นต้น
  • เทคโนโลยีเสมือนจริง (Immersive Technology, IMT) โดยอาศัยเทคโนโลยีอย่าง VR, AR, MR, CR, SR และ XR เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งจากสภาพแวดล้อมจริงและในจินตนาการ ให้ผู้ใช้ได้เห็นภาพ เสียง และรับประสาทสัมผัสหลาย ๆ ด้าน เหมือนอยู่ในสถานการณ์จริง ปัจจุบันมีการใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การฝึกทหาร การฝึกซ้อมกีฬา การฝึกงานช่าง และทางด้านสุขภาพ ได้แก่ การใช้ในการรักษาโรควิตกกังวล การใช้ฟื้นฟูสมรรถภาพการรับรู้ การฉายภาพช่วยในการผ่าตัด การใช้เสมือนผู้ดูแลผู้ป่วย ช่วยจัดการความเครียด ลดความวิตกกังวลในบางโรค เป็นต้น
  • เทคโนโลยีอวกาศ (Space Tech) ประกอบด้วยการสำรวจเชิงอวกาศ ช่วยในการพยากรณ์และจัดการภัยพิบัติโลก ติดตามสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ยังรวมถึงการท่องเที่ยวเชิงอวกาศ

สำหรับวงการแพทย์ เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยปฏิวัติการวินิจฉัย การรักษา และการติดตามผู้ป่วย โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยพบโรคตั้งแต่ระยะแรก การปรับแต่งยีนรักษาโรคทางพันธุกรรม และระบบติดตามสุขภาพทางไกลที่ช่วยให้แพทย์ดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จริยธรรม และความพร้อมของระบบสาธารณสุข

แนะนำอ่าน
10 แนวโน้มการรักษาทางการแพทย์ที่สำคัญ มีผลในเวลาอันใกล้
แนวโน้มการแพทย์ดิจิทัล ปี 2025

 

เรียบเรียงโดย กองบรรณาธิการ
ข้อมูลจาก
  1. https://www.startus-insights.com/innovators-guide/technology-trends-to-watch/
  2. https://aws.amazon.com/th/what-is/blockchain

 

 

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก