CIMjournal
banner food 10

CRP update: Dietary Supplements to Reduce Cardiovascular Risk


นพ. สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ผศ. นพ. สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Cardiac rehabilitation & prevention update, CRP update


ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคืออะไร ต่างจากอาหารเสริมอย่างไร

สำนักงานราชบัณฑิตสภา ให้คำจำกัดความของ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปรกติ ซึ่งมีสารอาหารหรือสารอื่นเป็นองค์ประกอบ เช่น วิตามิน กรดอะมิโน กรดไขมัน แร่ธาตุ รวมทั้งสารสังเคราะห์ที่เลียนแบบ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่อาหารโดยตรง แต่ใช้บริโภคเพื่อเสริมสร้างสุขภาพหรือเสริมความงาม เป็นต้น ส่วนอาหารเสริม  หมายถึง อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก คนไข้ คนชรา ที่รับประทานอาหารไม่ได้ เป็นอาหารที่ทำจากธัญพืช จากเนื้อสัตว์ จากผัก เป็นหลัก (http://legacy.orst.go.th/?knowledges=เสริมอาหาร-อาหารเสริม-๑๓)


ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ปลอดภัยจริงหรือ ?

ปลายเดือนมีนาคม 2567 หนังสือพิมพ์หลายฉบับ ลงข่าวว่า คนญี่ปุ่นที่กิน “อาหารเสริม” “ข้าวยีสต์แดง” เสียชีวิต 93 ราย ซึ่งอาจสัมพันธ์กับไตวายเรื้อรัง จากสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว (www.thairath.co.th/news/foreign/2799598) จะเห็นได้ว่า สื่อมวลชนไทยส่วนใหญ่ ก็ยังใช้คำว่า “อาหารเสริม” ผิด และแสดงให้เห็นว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป อันตรายอาจถึงกับชีวิตได้  

การศึกษา 3  แบบ ที่ช่วยพิจารณาประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์/ไม่มีโทษหรือมีโทษ จากการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

องค์ความรู้ Evidence-based Medicine เดิม ให้ความสำคัญของประเภทการศึกษาที่น่าเชื่อถือมากที่สุดคือ systematic review (SR) of randomized controlled trials (RCTs) รองลงมา คือ SR of prospective cohorts แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีการศึกษาแบบใหม่ ที่เรียกว่า Mendelian Randomization (MR) ซึ่งช่วยลดปัญหาของ cohorts เรื่อง confounder and reverse causality และถูกจัดว่า เป็นหลักฐานทางวิชาการเชิงประจักษ์ที่สูงกว่า cohorts/SR of cohorts (รายละเอียด MR study อ่านได้ที่ Neil M. Davies BMJ 2018;362:k601. http://dx.doi.org/10.1136/bmj.k601) 

ตัวอย่าง Mendelian Randomization study ช่วยตัดสินผลที่ไม่ตรงกันของ cohorts และ RCTs

สารต้านอนุมูลอิสระ (ประเภทวิตามิน เช่น วิตามิน อี ซี) สัมพันธ์กับ “ลด” โรคหลอดเลือดหัวใจ ใน Observation Studies (Cohorts) แต่ “ไม่พบ” ประโยชน์ ใน RCTs เมื่อเร็ว ๆ นี้ การศึกษา MR พบว่า ปัจจัยพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด (จากการกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) “ไม่สัมพันธ์” กับโรคหลอดเลือดหัวใจ (Luo J. J Am Coll Cardiol. 2021 Jan 5;77(1):45-54.) สรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ไม่แนะนำในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ


Mendelian Randomization study ที่อาจช่วยบอกโทษ ที่อาจเกิดจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีประโยชน์

การศึกษา SR of 8 RCTs แสดงให้เห็นว่า การกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา (n-3 PUFA) สัมพันธ์กับ “ลด” การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (Dong S. Nutr J. 2024 Dec 6;23(1):157.) แต่  SR of 7 RCTs ก็แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการกินน้ำมันปลาดังกล่าว กับเพิ่มการเกิด Atrial Fibrillation (AF) (Gencer B . Circulation 2021;144:1981-1990.) เช่นเดียวกับการศึกษา cohort ต่อมา ก็พบเช่นเดียวกัน (Zhang J. Eur J Prev Cardiol. 2022 Oct 20;29(14):1911-1920.)  การศึกษาแบบ MR ที่ยังเป็นบทคัดย่อ ที่นำเสนอในการประชุม ESC Congress 2022 ที่ Barcelona จะเป็นคำตอบว่า การกินน้ำมันปลาเป็นปัจจัยหลักในการเกิด AF ตามมาหรือไม่ (T. Rhee. Eur Heart J 2022;43, ehac544.2381)

การศึกษา RCTs 7 การศึกษา แสดงให้เห็นการกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีกรดโฟลิก 3 มก./วัน มากกว่า 3 ปี สัมพันธ์กับ “ลด” โรคหลอดเลือดสมอง (An P. J Am Coll Cardiol. 2022 Dec 13;80(24):2269-2285)  แต่การศึกษา SR of 5 RCTs ตั้งแต่ปี 2012 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิก กับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ไม่ได้รับความสนใจ จนปี 2024 การศึกษา MR ในประชากรอังกฤษ UK Biobank แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโฟลิกเป็นประจำ สัมพันธ์กับ “เพิ่ม”  มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่กินกรดโฟลิกจากอาหาร ไม่พบความสัมพันธ์ฯดังกล่าว (Guo X. Int J Urol. 2024 Sep 22. doi: 10.1111/iju.15565.)

ผู้ที่กินยาลดไขมัน สเตติน (Statin) อยู่เป็นประจำ ไม่ควรกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มีไนอาซีน (Niacin) 5๐๐ มก./เม็ด เกิน 2 เม็ดต่อวัน เพราะการศึกษา 3 RCTs พบความสัมพันธ์ระหว่าง ไนอาซีน (วิตามิน บี 3) ร่วมกับ ยาสเตติน กับเพิ่มการเสียชีวิตทุกสาเหตุ Number Needed to Harm = 179 (Jenkins DJA. J Am Coll Cardiol. 2021 Feb 2;77(4):423-436). กลไกการเกิด พบว่า ไนอาซีนในร่างกายที่มากเกินไป (จากกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร 2PY, 4PY ซึ่งเพิ่มการอักเสบของหลอดเลือดแทน สัมพันธ์กับเพิ่มกล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดสมองตีบ และการเสียชีวิต (Ferrell M. Nat Med. 2024; 30: 424-434).      


สารให้ความหวานแทนน้ำตาล Artificial Sweeteners (AS) ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

การศึกษา 12 cohorts ในประชากรล้านกว่าคน ติดตามเฉลี่ย 10 ปี พบว่า การบริโภค AS สัมพันธ์กับ เพิ่มการตายทุกสาเหตุ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง (Queiroz I. Curr Probl Cardiol. 2025 Jan;50(1):102837)  โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน (Sun T. Cardiovasc Diabetol. 2024 Jul 4;23(1):233) การศึกษา MR ในชาวยุโรป แสดงในเห็นว่า ปัจจัยพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ชอบกิน AS ในกาแฟ ตั้งแต่เด็ก สัมพันธ์กับ “เพิ่ม” โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน แต่ไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว ในการกิน AS ในน้ำชา (Kan JY. Br J Nutr. 2024 Oct 28;132(8):1065-1072) สรุป คือ ผู้ที่ชอบดื่มกาแฟที่ใส่สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นประจำ (ตั้งแต่เด็ก) น่าจะเป็นปัจจัยทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา


Nutritive Artificial Sweeteners ประเภท sugar alcohol เช่น xylitol, erythritol ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

การศึกษาระดับสารฯ erythritol ในเลือดของกลุ่ม ประชากร 1,157 คน ติดตามไป 3 ปี พบว่า ระดับฯ ดังกล่าว สัมพันธ์กับเพิ่ม Major Adverse Cardiovascular Events(MACEs) โดยสัมพันธ์กับการเพิ่มลิ่มเลือดในหลอดเลือดหัวใจ (Witkowski M. Nat Med. 2023 Feb 27. doi: 10.1038/s41591-023-02223-9) และในอาสาสมัคร แข็งแรงดี การกิน erythritol สัมพันธ์กับเพิ่มระดับ erythritol ที่เลือดสูงขึ้นมากกว่า 1,000 เท่า และเพิ่มการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ในเวลา 30 นาที (Platelet Reactivity)( Witkowski M. Arterioscler Thromb Vasc Biol. 2024 Aug 8.) การศึกษา ใน Xylitol ก็พบเช่นเดียวกัน (Witkowski M. Eur Heart J. 2024 Jun 6:ehae244.)


สรุป

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แม้ผลิตมาจากอาหารธรรมชาติ แต่การควบคุมการผลิตหรือการตรวจสอบคุณภาพ ป้องกันสิ่งปนเปื้อน ย่อมน้อยกว่า หย่อนยานกว่า “ยารักษาโรค” ที่ใช้ในทางการแพทย์ ดังนั้น ความปลอดภัย หรือการพิจารณาโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิดเป็นเวลานาน จึงเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาก่อน ประโยชน์ที่จะเกิดกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ด้วยองค์ความรู้ที่เป็นหลักฐานทางวิชาการที่ดีที่สุด 3 แบบ (ทั้ง RCTs, Mendelian Randomization และ Cohorts) ที่ทันสมัย และทันเหตุการณ์

Dietary Supplements to Reduce Cardiovascular Risk

 

 

 

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก