รศ. พญ. ชุตินธร ศรีพระประแดง
สาขาวิชาโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มีการอัปเดตความรู้ทางต่อมไร้ท่ออย่างต่อเนื่อง ทางผู้เขียนขอเลือกบทความที่น่าสนใจจากวารสารทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงมาอัปเดตให้ผู้อ่านที่สนใจติดตามค่ะ
บทความแรกมาจากวารสาร New England Journal of Medicine ในเดือนมิถุนายน 25671 ในหัวข้อ Clinical Implications of Basic Research ซึ่งดูค่อนข้างซับซ้อน แต่เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาแนวทางการรักษาโรคเบาหวานในอนาคต คือ glucose-responsive insulin เป็นนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับอินซูลินให้ตอบสนองต่อระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างชาญฉลาด โดยสามารถออกฤทธิ์ขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและหยุดออกฤทธิ์เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมาที่ระดับปกติ นวัตกรรมนี้ทำงานเลียนแบบการทำงานของบีต้าเซลล์ในร่างกายที่หลั่งอินซูลินสอดคล้องกับระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้ปกติและลดการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทาง Zhang และคณะ2 ได้ทดลองอินซูลินแบบใหม่ในรูปแบบฉีดใต้ผิวหนังและพบว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในหนูทดลองและหมูเล็ก โดยพบประสิทธิภาพที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลเทียบเท่าการใช้ basal insulin และมีความปลอดภัยสูง การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ proof of concept ซึ่งยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมในมนุษย์ แต่นับว่าเป็นข่าวดีกับผู้เป็นเบาหวานที่จะมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีและปลอดภัยยิ่งขึ้นในอนาคต
การศึกษา UK Prospective Diabetes Study (UKPDS) เป็น landmark study ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่จำนวน 4209 คน โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข้มงวด (ยา sulfonylurea หรือ insulin หรือ metformin กรณี obesity) และกลุ่มที่ควบคุมแบบ conventional ระยะเวลาการศึกษา 20 ปี (เวลาเฉลี่ยในการศึกษา 10 ปี) ผลการควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข้มงวดทำให้ลด microvascular complication และ diabetes-related endpoint แต่ยังไม่พบการลด macrovascular complication หรืออัตราการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากจบการศึกษาไปแล้ว 10 ปี ได้มีการติดตามการศึกษาต่อเนื่อง พบว่ากลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข้มงวดยังพบการลดลง microvascular complication และ diabetes-related endpoint อย่างต่อเนื่องและยังลดการเกิด myocardial infarction และลดอัตราการเสียชีวิตได้ทั้งที่ไม่มีการให้ intervention แล้ว เรียกว่าเป็น legacy effect ส่งผลให้เกิดแนวทางการรักษาเบาหวานมาตรฐานให้ควบคุมระดับน้ำตาลให้เข้มงวดในปัจจุบัน ล่าสุดในวารสาร The Lancet ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาจากการติดตามระยะยาว 24 ปีหลังจบการศึกษา3 (ต่อเนื่องจาก post-trial monitoring เดิมอีก 14 ปี) ซึ่งผลการศึกษายังพบ legacy effect ต่อเนื่องจากเดิมที่คาดว่าผล legacy effect น่าจะหายไปแล้ว ยิ่งย้ำให้เห็นประโยชน์ของการควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีตั้งแต่แรกเพื่อที่จะลดความเสี่ยงตลอดชีวิตของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานให้มากที่สุดวารสาร European Journal of Endocrinology ได้ตีพิมพ์แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรค Turner Syndrome4 ซึ่งมาจากการประชุม 2023 Aarhus International Turner Syndrome Meeting ที่ได้อัปเดตจากเดิมในปี 20175 โรคนี้มีผลกระทบต่อหลายอวัยวะ ทำให้ต้องได้รับการดูแลแบบสหสาขาวิชาตลอดชีวิต แนวทางการรักษาได้อัปเดตความรู้หลายเรื่อง ดังนี้
- การวินิจฉัยทางด้านพันธุกรรม ได้มีการพูดถึงบทบาทของการวินิจฉัยก่อนคลอด (prenatal diagnosis) ซึ่งสามารถทำได้จากการอัลตร้าซาวนด์ครรภ์หรือตรวจเลือดมารดา ไปจนถึงการวินิจฉัยหลังคลอด โดยแต่ละ karyotype จะมี phenotype ที่แตกต่างออกไป
- การดูแลเรื่องการเจริญเติบโต ผู้ป่วยมักมีปัญหา short stature โดยแนะนำให้รักษาด้วย growth hormone โดยเริ่มให้แต่เนิ่นๆ เนื่องจาก growth failure เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
- การดูแลเรื่อง puberty และการให้ฮอร์โมนเพศ แนะนำการตรวจระดับ FSH, LH และ anti-Mullerian hormone (AMH) ทุกปีตั้งแต่อายุ 8 – 9 ปีจนถึงอายุ 11 – 12 ปี เพื่อพิจารณาเรื่อง fertility preservation พิจารณาการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนขนาดต่ำตั้งแต่อายุ 11 – 12 ปี เมื่อระดับ FSH สูงขึ้นติดต่อกันสองครั้ง โดยค่อยๆ เพิ่มขนาดจนไปถึงขนาดผู้ใหญ่ภายในเวลา 2 – 4 ปี เลือกใช้ฮอร์โมนแบบ transdermal route โดยใช้ 17beta-estradiol (E2) เป็นอันดับแรก หรืออาจใช้เป็น estradiol valerate ไม่แนะนำ conjugated equine estrogen เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อ venous thromboembolism ส่วน ethinyl estradiol ที่อยู่ในยาคุมกำเนิดและเดิมนิยมให้เป็นฮอร์โมนเพศทดแทนใน Turner syndrome มีข้อเสียทางด้าน cardiovascular และเมแทบอลิก เพิ่มความเสี่ยง venous thromboembolism และไม่สามารถติดตามระดับ E2 ได้ แต่ยังมีความนิยมเพราะใช้ง่าย ราคาไม่แพง และสามารถคุมกำเนิดในผู้ที่ยังมี ovarian function หลงเหลืออยู่
- การดูแลทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด มีความสำคัญมาก เพราะพบโรคตั้งแต่แรกเกิด ได้แก่ bicuspid aortic valve, aortic coarctation, arteriopathy ที่ทำให้เกิด aortic dissection ได้ รวมถึงโรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคอัมพาตที่ทำให้มีอายุขัยสั้น
- การดูแลในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การ transition ไป adult care, health surveillance ในเรื่องโรคร่วม รวมถึงการดูแล neurocognition, mental health และ well-being
- Cefalu WT, Arreaza-Rubin G. Engineering an Insulin Complex to Treat Diabetes. N Engl J Med. 2024;390(23):2214-2216.
- Zhang J, Wei X, Liu W, et al. Week-long normoglycaemia in diabetic mice and minipigs via a subcutaneous dose of a glucose-responsive insulin complex. Nat Biomed Eng. 2023:10.1038/s41551-023-001138-7. Online ahead of print.
- Adler AI, Coleman RL, Leal J, Whiteley WN, Clarke P, Holman RR. Post-trial monitoring of a randomised controlled trial of intensive glycaemic control in type 2 diabetes extended from 10 years to 24 years (UKPDS 91). Lancet. 2024;404(10448):145-155.
- Gravholt CH, Andersen NH, Christin-Maitre S, et al. Clinical practice guidelines for the care of girls and women with Turner syndrome. Eur J Endocrinol. 2024;190(6):G53-G151.
- Gravholt CH, Andersen NH, Conway GS, et al. Clinical practice guidelines for the care of girls and women with Turner syndrome: proceedings from the 2016 Cincinnati International Turner Syndrome Meeting. Eur J Endocrinol. 2017;177(3):G1-G70.