ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 องค์การอนามัยโลก1 ได้ออกคำแนะนำให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด monovalent สายพันธุ์โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย XBB.1 descendent lineage เช่น สายพันธุ์ XBB.1.5 และ
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิดดังกล่าวในเด็กอายุตั้งแต่อายุ 6 เดือน เป็นต้นไป2 และภายหลังจากที่มีการใช้วัคซีนนี้ในสหรัฐอเมริกาได้มีรายงานข้อมูลประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโรค โควิด 19 ชนิด monovalent สายพันธุ์โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย XBB.1.5 ในการป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 พบว่า วัคซีนมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ ที่พบการระบาดในขณะนี้ได้ร้อยละ 54 เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งรวมการติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย JN 1 ได้ร้อยละ 493
สำหรับในประเทศไทย ยังพบมีรายงานผู้ป่วยโรคโควิด 19 อย่างต่อเนื่อง โดยรายงานสถานการณ์โรคโควิดระหว่างมกราคม พ.ศ. 2566 - 2567 จากกรมควบคุมโรคประเทศไทย พบอัตราการป่วยโรคโควิด 19 สูงสุดในกลุ่มเด็กอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งมีอัตราสูงมากกว่า 6,000 รายต่อ 100,000 ประชากร เมื่อเทียบกับเด็กโตและผู้ใหญ่ ซึ่งพบอัตราการติดเชื้อน้อยกว่า 1,000 ต่อ 100,000 ประชากร และผลการถอดรหัสพันธุกรรม เชื้อ SARS-CoV-2 ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม 2566 ถึง 23 มกราคม 2567 จำนวน 234 ราย พบส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ลูกผสมกระจายทุกเขตสุขภาพ โดยสายพันธุ์ JN.1* พบสัดส่วนมากที่สุดร้อยละ 33.5 ถัดมาคือ EG.5 (สายพันธุ์ย่อยของ XBB.1.9.2) ร้อยละ 27.5, BA.2.86 ร้อยละ 21, XBB.1.16 ร้อยละ 7.3%4 ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จึงเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญในการป้องกันโรค ในปัจจุบันนี้วัคซีนป้องโรคโควิด 19 ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ monovalent XBB.1.5 ของ Pfizer BioNTech (Comirnaty) ซึ่งมีหลาย preparation ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 รูปแบบของวัคซีนป้องโรคโควิด 19 monovalent XBB.1.5 ของ Pfizer BioNTech (Comirnaty) ที่มีในประเทศไทยหมายเหตุ ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่แนะนำตามกลุ่มอายุได้ อาจพิจารณาแบ่งโดส (fractional dose) ได้ดังนี้
- ในเด็กอายุ 5 - <12 ปี พิจารณาใช้วัคซีน Pfizer-BioNTech ฝาสีเทา แถบสีเทา มาแบ่งโดส (fractional dose) เป็นขนาด 10 ไมโครกรัม ปริมาณ 0.1 มิลลิลิตร ต่อโดส ในการฉีดแทนฝาสีฟ้า แถบสีฟ้าได้
- ในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง <5 ปี พิจารณาใช้วัคซีน Pfizer-BioNTech ฝาสีฟ้า แถบสีฟ้า มาแบ่งโดส (fractional dose) เป็นขนาด 3 ไมโครกรัม ปริมาณ 0.09 มิลลิลิตร ต่อโดส ในการฉีดแทนฝาสีแดงเข้ม แถบสีแดงเข้ม หรือฝาสีเหลือง แถบสีเหลือง
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยได้ ทบทวนข้อมูลทางวิชาการและคำแนะนำของนานาประเทศรวมทั้งองค์การอนามัยโลก1, 5 จึงได้ออกคำแนะนำการใช้วัคซีนป้องกันโรค โควิด 19 ชนิด monovalent XBB.1.5 ของ Pfizer BioNTech (Comirnaty) ดังนี้ - แนะนำวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด monovalent XBB.1.5 ของ Pfizer BioNTech (Comirnaty) ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนเป็นต้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคโควิด 19 ที่รุนแรง ซึ่งได้แก่
- โรคอ้วน (น้ำหนักเทียบกับความสูง (weight for height) มากกว่า +3 SD)
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคเบาหวาน
- กลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า
- โรคไตวายเรื้อรัง
- โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำปานกลางถึงรุนแรง
- พิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ได้สำหรับเด็กที่แข็งแรงดี อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
- คำแนะนำทั่วไปเกี่ยวกับการรับวัคซีนโควิด 19 มีดังนี้
- สำหรับผู้ที่เคยมีการติดเชื้อ SARS-CoV2 มาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 หลังจากการติดเชื้ออย่างน้อย 90 วัน นับจากวันที่เริ่ม
มีอาการป่วยจากโรคโควิด 19 หรือในเด็กที่ติดเชื้อ SARS-CoV2 โดยไม่แสดงอาการ ให้นับจากวันที่มี
ผล ATK หรือ PCR เป็นบวก - ภายหลังการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ตามธรรมชาติ แนะนำให้ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็มในทุกกลุ่มอายุ ทั้งในภูมิคุ้มกันปกติ และภูมิคุ้มกันต่ำปานกลางถึงรุนแรง
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด monovalent XBB.1.5 ของ Pfizer BioNTech (Comirnaty) ให้ฉีดห่างจากวัคซีนป้องกันโรค
โควิด 19 เข็มสุดท้าย ที่เคยได้รับมาก่อน อย่างน้อย 8 สัปดาห์ - ในกรณีเด็กเล็กที่ต้องฉีดวัคซีนป้องกัน
โรคโควิด19 3 เข็ม ระยะห่างระหว่างการฉีดวัคซีนเข็ม 1 และเข็ม 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ (3 – 8 สัปดาห์) และระยะห่างระหว่างเข็มที่ 2 และเข็ม 3 ห่างอย่างน้อย 8 สัปดาห์ - คำแนะนำผลิตภัณฑ์ ขนาด และจำนวนโดส ของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในเด็กและ
วัยรุ่นดังแสดงในตารางที่ 2 และ 3 โดยมีคำแนะนำดังนี้
- สำหรับผู้ที่เคยมีการติดเชื้อ SARS-CoV2 มาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 หลังจากการติดเชื้ออย่างน้อย 90 วัน นับจากวันที่เริ่ม
ในเด็กปกติและเด็กกลุ่มเสี่ยงไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำปานกลางถึงรุนแรง
- เด็กอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี หากไม่เคยเป็นโรคโควิด 19 แนะนำให้ฉีด primary series ให้ครบ 3 เข็ม ตามกำหนดการฉีดในเดือนที่ 0, 1, 3 ดังรายละเอียด ที่กล่าวข้างต้น แต่หากเคยเป็นโควิด 19 มาก่อน แนะนำให้ฉีดกระตุ้นเพียง 1
- เด็กอายุมากกว่า 1 ปี มีข้อมูลศึกษาในประเทศไทย6 พบว่า ร้อยละ 88 มีภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด 19 แล้วจากการเคยเป็นโรคหรือได้รับวัคซีนมาก่อน จึงแนะนำว่าหากอายุเกิน 1 ปี ในเด็กที่ไม่มีภาวะภูมิคุ้มบกพร่องปานกลางหรือรุนแรง แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด monovalent XBB.1.5 เพียง 1 เข็ม
ตารางที่ 2 เด็กปกติและเด็กกลุ่มเสี่ยงไม่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำปานกลางถึงรุนแรง*เข็ม 1 และเข็ม 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ (3-8 สัปดาห์) เข็ม 2 และเข็ม 3 ห่างอย่างน้อย 8 สัปดาห์
#ฉีดห่างจากเข็มสุดท้าย ที่เคยรับมาก่อน อย่างน้อย 8 สัปดาห์
ในเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำปานกลางถึงรุนแรง
- เด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำปานกลางถึงรุนแรง ได้แก่ ผู้ป่วยที่กำลังได้รับยารักษาโรคมะเร็ง (solid tumor and hematologic malignancies) ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ (solid-organ transplant recipients) ผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูกภายใน 2 ปีหรือยังได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิดในระดับปานกลางถึงรุนแรง (เช่น DiGeorge syndrome, Wiskott-Aldrich syndrome เป็นต้น) ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีระดับ CD4 < 200/mm3 หรือผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น คอร์ติโคเสตียรอยด์ขนาดสูง (≥ 20 มก./วัน ของยาเพรดนิโซโลนหรือเทียบเท่าเป็นระยะเวลา ≥ 2 สัปดาห์ ), ยาเคมีบำบัด alkylating agents, antimetabolites, TNF blockers และ biologic agents เป็นต้น
- เด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำปานกลางถึงรุนแรงที่ไม่เคยติดเชื้อและไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ให้ครบ primary series ตามอายุ ดังแสดงในตารางที่ 3 และพิจารณา additional dose ในเด็กอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปอีก 1 เข็ม โดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 4 สัปดาห์
ตารางที่ 3 เด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำปานกลางถึงรุนแรง#ฉีดห่างจากเข็มสุดท้าย ที่เคยรับมาก่อน อย่างน้อย 8 สัปดาห์
*เข็ม 1 และเข็ม 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ (3-8 สัปดาห์) เข็ม 2 และเข็ม 3 ห่างอย่างน้อย 8 สัปดาห์
** เข็ม 1 และเข็ม 2 ห่างกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ แนะนำเว้นระยะห่างการฉีดเข็ม 1 และ 2 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จะลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ และพิจารณา additional dose ในเด็กอายุเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำปานกลางถึงรุนแรงตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปอีก 1 เข็ม โดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 4 สัปดาห์