CIMjournal
banner blood cell

Infection update: การติดเชื้อในผู้ป่วยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด


นพ. วรวงศ์ ชื่นสุวรรณพ.ท. นพ. วรวงศ์ ชื่นสุวรรณ
แผนกโรคติดเชื้อ กองอายุรกรรม
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

 

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญในการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดโดยเฉพาะแบบ allogeneic (allo-HCT) โดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นหลังการปลูกถ่าย ซึ่งอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อสูง


ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ (Risk of infection)

โดยความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยหลัก 3 ประการ1 ได้แก่
  1. Intensity of exposure ระดับการสัมผัสเชื้อและความรุนแรงของจุลชีพก่อโรค ปริมาณและความสามารถในการก่อโรคของเชื้อ (virulence) ที่ผู้ป่วยสัมผัสมีผลโดยตรงต่อโอกาสในการเกิดการติดเชื้อ
  2. Net state of immunosuppression ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย รวมถึงชนิด ระดับ ความรวดเร็ว และระยะเวลาของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องทั้งจากตัวโรคและการรักษา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อโอกาสเกิดการติดเชื้อ
  3. Presence of tissue and/or organ damage ภาวะความเสียหายของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ เช่น เยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ (mucositis) ไตวาย หรือภาวะบาดเจ็บของปอด รวมถึงการใช้สายสวนหลอดเลือดดำกลาง (central venous catheters) ล้วนเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ


ระยะเวลาของการติดเชื้อในผู้ป่วยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด  (Timeline for infections)

โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงสำคัญ ดังนี้2
  1. ระยะ pre-engraftment – ตั้งแต่วันปลูกถ่ายจนถึงการฟื้นตัวของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (neutrophil) ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ในช่วงประมาณวันที่ 20 ถึง 30 หลังการปลูกถ่าย ช่วงนี้ผู้ป่วยมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสบางชนิด
  2. ระยะ early post engraftment – ตั้งแต่ช่วงที่เซลล์ต้นกำเนิดเริ่มฝังตัวจนถึงวันที่ 100 หลังปลูกถ่าย ในช่วงนี้
    ผู้ป่วยเริ่มมีการฟื้นตัวของเม็ดเลือดขาว แต่ยังคงมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการให้ยาป้องกัน หรือรักษาภาวะ graft-versus-host disease; GvHD รวมถึงผลของยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจาก
    เชื้อรา ไวรัส และเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
  3. ระยะ late post engraftment – ตั้งแต่วันที่ 100 เป็นต้นไป ในระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ยังคงได้รับยากดภูมิคุ้มกันหรือมีภาวะ chronic GvHD อาจยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาส

โดยทั่วไป ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดแบบ allogeneic (allogeneic HCT) มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทุกระยะของการปลูกถ่าย ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายแบบ autologous (autologous HCT) มักมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยเฉพาะระยะ pre-engraftment และ early post engraftment ในแต่ละช่วงเวลาดังกล่าว ผู้ป่วยอาจติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และ/หรือปรสิตได้ แม้ว่าเชื้อก่อโรคบางชนิดจะมีแนวโน้มก่อโรคในบางช่วงเวลามากกว่าช่วงอื่น ๆ ก็ตาม3 ดังตารางที่ 1 – 3

ตารางที่ 1 การติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในระยะ pre-engraftment4-6การติดเชื้อในผู้ป่วยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด


ตารางที่ 2
การติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในระยะ late post-engraftment7-9
การติดเชื้อในผู้ป่วยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด


ตารางที่ 3
การติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
การติดเชื้อในผู้ป่วยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด 

เอกสารอ้างอิง
  1. Wingard JR, Hsu J, Hiemenz JW. Hematopoietic stem cell transplantation: an overview of infection risks and epidemiology. Infect Dis Clin North Am 2010; 24:257.
  2. Tomblyn M, Chiller T, Einsele H, et al. Guidelines for preventing infectious complications among hematopoietic cell transplantation recipients: a global perspective. Biol Blood Marrow Transplant 2009; 15:1143.
  3. Small TN, Papadopoulos EB, Boulad F, et al. Comparison of immune reconstitution after unrelated and related T-cell-depleted bone marrow transplantation: effect of patient age and donor leukocyte infusions. Blood 1999; 93:467.
  4. Freifeld AG, Bow EJ, Sepkowitz KA, et al. Clinical practice guideline for the use of antimicrobial agents in neutropenic patients with cancer: 2010 update by the infectious diseases society of america. Clin Infect Dis 2011; 52:e56.
  5. Wingard JR, Hiemenz JW, Jantz MA. How I manage pulmonary nodular lesions and nodular infiltrates in patients with hematologic malignancies or undergoing hematopoietic cell transplantation. Blood 2012; 120:1791.
  6. Bedi A, Miller CB, Hanson JL, et al. Association of BK virus with failure of prophylaxis against hemorrhagic cystitis following bone marrow transplantation. J Clin Oncol 1995; 13:1103.
  7. Versluys AB, Rossen JW, van Ewijk B, et al. Strong association between respiratory viral infection early after hematopoietic stem cell transplantation and the development of life-threatening acute and chronic alloimmune lung syndromes. Biol Blood Marrow Transplant 2010; 16:782.
  8. Roy V, Weisdorf D. Mycobacterial infections following bone marrow transplantation: a 20-year retrospective review. Bone Marrow Transplant 1997; 19:467.
  9. Atkinson K, Meyers JD, Storb R, et al. Varicella-zoster virus infection after marrow transplantation for aplastic anemia or leukemia. Transplantation 1980; 29:47.

 

 

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก