โรคคลั่งผอมทำให้สตรีตั้งครรภ์และทารก เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์มากขึ้น
โรคคลั่งผอมเป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะจำกัดการบริโภคอาหารเพื่อให้ตนเองมีรูปร่างผอม รู้สึกกลัวการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และรู้สึกไม่มั่นใจกับรูปร่างของตนเองเมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้น การเป็นโรคคลั่งผอมส่งผลกระทบทำให้มีภาวะทุพโภชนาการ โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบในวัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ซึ่งเป็นวัยเจริญพันธุ์ ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ทั้งฝั่งมารดาและทารกในสตรีตั้งครรภ์จึงควรได้รับการศึกษา
Rebecca J. BAER และคณะ ได้รวบรวมข้อมูลจากเด็กแรกเกิดที่เมืองแคลิฟอร์เนีย จากข้อมูลการสรุปเวชระเบียนระหว่างปี ค.ศ. 2007 ถึง 2021 โดยพบว่า การตั้งครรภ์จำนวน 241 จาก 6,418,236 ครรภ์ มารดาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคคลั่งผอม (anorexia) โดยที่ไม่มีโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหารอื่น ๆ โดยพบว่า การเป็นโรคคลั่งผอมสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์มากขึ้น เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษมากขึ้นเป็น 1.65 เท่า ภาวะตกเลือดก่อนคลอดมากขึ้นเป็น 3.56 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นโรคความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และเมื่อปรับด้วยปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคกังวล โรคซึมเศร้า การใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ เป็นต้นแล้ว ยังพบว่า ทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคคลั่งผอมมีแนวโน้มมีภาวะโลหิตจาง คลอดก่อนกำหนด น้ำคร่ำน้อย และน้ำหนักแรกคลอดน้อยได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมารดาที่มีดัชนีมวลกายตัวน้อยกว่าเกณฑ์จะเป็นเหตุของการคลอดก่อนกำหนด 7.78% และเป็นเหตุของการที่ทารกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยถึง 18% ส่วนการที่มารดาตั้งครรภ์มีน้ำหนักขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์ในระหว่างการตั้งครรภ์ จะเป็นเหตุของการคลอดก่อนกำหนด และการที่ทารกจะน้ำหนักแรกคลอดน้อยถึง 38.89% และ 40.44% ตามลำดับ
โรคคลั่งผอมในสตรีตั้งครรภ์ส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ บุคลากรทางการแพทย์ที่ส่วนเกี่ยวข้องการในดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรให้คำแนะนำผู้ป่วย รวมถึงติดตามผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นด้วย
เรียบเรียงโดย พญ. นิษฐา ปรุงวิทยา
ข้อมูลจาก https://www.mims.com/specialty/topic/expectant-mums-with-anorexia-nervosa