การเลิกสูบบุหรี่ไม่ว่าจะหยุดเมื่ออายุเท่าใดก็จะทำให้อายุขัยยืนยาวขึ้น
การหาปริมาณผลกระทบของการสูบบุหรี่ต่ออายุขัย และประโยชน์ที่เกิดขึ้นเมื่อเลิกบุหรี่ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการจูงใจให้ผู้ที่ยังสูบบุหรี่อยู่นั้นเลิกบุหรี่ แม้ว่าการศึกษาก่อนหน้านี้ได้พยายามที่จะประเมินผลกระทบเหล่านี้ แต่ก็มีการดำเนินการมานานกว่าทศวรรษแล้ว และไม่รวมถึงกลุ่มประชากรที่สำคัญ คือ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีที่ยังสูบบุหรี่
Thuy T.T. Le และคณะ ได้ทำการศึกษา วิเคราะห์ผลเสียของการสูบบุหรี่และผลกระทบเชิงบวกของการเลิกบุหรี่ต่ออายุขัยของผู้ที่มีอายุระหว่าง 35 ถึง 75 ปี โดยพบว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่เมื่ออายุ 35, 45, 55, 65 และ 75 ปี และสูบบุหรี่ต่อไปตลอดชีวิตจะสูญเสียเวลามีชีวิตอยู่ไป 9.1, 8.3, 7.3, 5.9 และ 4.4 ปี ตามลำดับหากพวกเขายังคงสูบบุหรี่ไปตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม หากเลิกบุหรี่ในแต่ละช่วงอายุก็จะหลีกเลี่ยงการสูญเสียโดยเฉลี่ยที่ 8.0, 5.6, 3.4, 1.7 และ 0.7 ปีตามลำดับ โอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ได้อีกอย่างน้อย 1 ปี ในกลุ่มผู้ที่หยุดสูบบุหรี่เมื่ออายุ 65 และ 75 ปี คือ 23.4% และ 14.2% ตามลำดับ
การเลิกสูบบุหรี่ตั้งแต่ตอนนี้จะช่วยหลีกเลี่ยงเวลามีชีวิตที่จะหายไป เนื่องจากการสูบบุหรี่เป็นเวลาหลายปี แม้แต่ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่เมื่ออายุมากแล้วคือ 65 ปีขึ้นไปก็ยังสามารถเพิ่มอายุขัยได้อย่างมีนัยสำคัญ
เรียบเรียงโดย พญ. นิษฐา ปรุงวิทยา
ข้อมูลจาก https://www.ajpmonline.org/article/S0749-3797(24)00217-4/fulltext#%20