พญ. อัญชลี เสนะวงษ์
ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา
สถาบันภูมิแพ้ BNH Asthma and Allergy center
ปัจจุบันเริ่มมีการรับประทานแมลงเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งของสารอาหารโปรตีน หรือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการประกอบอาหารท้องถิ่น แมลงที่มักรับประทานเหล่านี้ อยู่ในอาณาจักร Animalia ในไฟลั่ม Arthropoda ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ กุ้ง กั๊ง ปู ไรฝุ่น ตะขาบหรือแมลงสาบ ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 phylogenetic relationship ระหว่างแมลง, ไรฝุ่น และสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง
มีรายงานการแพ้โดยอาจแพ้รุนแรงร้ายแรงถึงชีวิตได้ พบรายงาน case reports เกี่ยวกับอาการแพ้อาหารจากแมลงที่กินได้ ดังนี้ ตัวอ่อนของด้วง: larvae of beetles (mealworm: หนอนนก, sago worm: หนอนสาคู, lentil weevil: ด้วงงวง), ตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน: larvae of moths (silkworm: หนอนไหม, mopane worm: หนอนโมเพน, pine processionary caterpillar: หนอนบุ้งปลอกสน, woolly bear caterpillar หนอนผีเสื้อขนปุกปุย) และแมลงอื่นๆ เช่น locusts, grasshoppers (ตั๊กแตน), crickets (จิ้งหรีด) และผึ้ง นอกจากนี้ยังมีรายงานอาการแพ้หลังจากกินคาร์ไมน์ ซึ่งเป็นสารเติมแต่งสี ได้จากแมลงชื่อ Dactylopius coccus var. Costa ตัวเมีย โดยพบอุบัติการณ์การแพ้ต่อหนอนไหมบ่อยที่สุด
จากการรวบรวมการศึกษาในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยภัยแมลงทั้งหมด 18 คนจาก 140 คน ที่ให้ประวัติรับประทาน ในกลุ่มนี้แบ่งเป็นคนที่แพ้ ดักแด้หนอนไหมหรือ Silkworm larva 8 คน, ตั๊กแตน Grasshopper 4 คน, จิ้งหรีด Cricket 3 คน และ หนอนไม้ไผ่ หรือ รถด่วน Bamboo caterpillar 3 คน ดังรูปที่ 2รูปที่ 2 แมลงที่กินได้ ซึ่งมีรายงานเป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดอาการแพ้ (หนอนไหม, ตั๊กแตน, จิ้งหรีด และรถด่วนตามลำดับ)
เหตุใดจึงแพ้แมลงจากการรับประทาน พบสาเหตุได้ 2 กลไกคือ
- มาจากการแพ้ข้ามกลุ่มของสารแพ้ที่มีความคล้ายคลึงกันจาก ไรฝุ่น แมลงสาบ และแมลง มีชื่อว่า อาจีนีนไคเนส (arginine kinase) และโทโปรไมโอซิน (tropomyosin) ซึ่งสารเหล่านี้พบว่าสามารถแพ้ข้ามกลุ่มไปยังสปีชีส์อื่นๆ เช่น สัตว์ทะเลเปลือกแข็ง, แมลงสาบ, พยาธิ หรือไรฝุ่นได้ รูปที่ 3 โดยพบมีความคล้ายคลึงกันของโมเลกุลได้ถึง 70% ในกลุ่มนี้ผู้ป่วยจะมีอาการภูมิแพ้อากาศจากไรฝุ่นหรือเปลือกแมลงสาบอยู่แล้ว ต่อมาเมื่อรับประทานแมลงจึงเกิดอาการแพ้
รูปที่ 3 การแพ้ข้ามกลุ่มของสารแพ้ระหว่างแมลงและสัตว์อื่นๆ
- Histamine poisoning จากการที่ในเนื้อแมลงเองนั้นประกอบไปด้วยสารพิษฮิสตาสูง โดยหากมีการสลายสารพิษนี้ในร่างกายไม่ทันกว่าการได้รับมาจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ และเกิดสามารถเกิดอาการแพ้รุนแรงนาไฟแลคซิสได้ มีรายงานการระบาดของการรับประทานแมลง ในนักเรียน 227 คน เมื่อปี 2557 จาก โดยสาเหตุหลักมาจากตั๊กแตน (grasshoppers) และหนอนไหม (silkworm pupae) ซึ่งได้มีการตรวจระดับของวิตามินในแมลงดังกล่าวพบว่ามีค่าสูงระดับปกติเป็นอย่างมาก
อาการและอาการแสดง
อาการแพ้ อาจมีอาการคันตามตัว ผื่นแดง ปากบวมตาบวม หรือรุนแรงจนหายใจไม่ออก หลอดลมตีบตันอาเจียนคลื่นไส้ หรือมีภาวะความดันต่ำได้ โดยมักเป็นหลังกินรับประทานเป็นนาทีถึงชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณและการดูดซึม
การตรวจวินิจฉัย
การวินิจฉัยอาศัยจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ โดยหากมีผู้ป่วยคนอื่นที่มีอาการคล้ายกันจากการรับประทานจะทำให้สงสัยเป็นอย่างมาก การตรวจหาสารประกอบอาจีนีนไคเนส (arginine kinase) และโทโปรไมโอซิน(tropomyosin) สามารถบ่งบอกได้ถึงบ่งบอกการแพ้ข้ามกลุ่มจากไรฝุ่น แมลงสาบ หรือสัตว์ทะเลเปลือกแข็ง และการตรวจหาระดับ histamine ในเนื้อแมลงสามารถบอกได้ถึงสาเหตุ histamine poisoning ได้
- Hoffmann-Sommergruber K. et al. Molecular Allergology User’s Guide 2.0 Allergy. Vol 78, Issue 5, May 2023, Pages 1139-1141
- Chomchai S. et al. Prevalence and cluster effect of self-reported allergic reactions among insect consumers. Asian Pac J Allergy Immunol 2020; 38:40-46 DOI 10.12932
- Chomchai S. et al. Histamine poisoning from insect consumption: an outbreak investigation from Thailand. Clin Toxicol (Phila). 2018 Feb;56(2):126-131.