CIMjournal
เศรษฐกิจไทยและโลก ปี 2022 ขึ้นกับปัจจัยใดบ้าง

Wealth: เศรษฐกิจไทยและโลก ปี 2022 ขึ้นกับปัจจัยใดบ้าง


เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง ทุกคนย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วยในหลาย ๆ ด้าน ทั้งชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ รวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 กว่า 2 ปีที่ผ่านมา ต่อด้วยสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนในปีนี้ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจจึงเป็นที่จับตามองมากยิ่งขึ้น วันนี้ทีมงาน CIM ขอรีไรท์ปัจจัยกว้างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะเวลาอันใกล้นี้  


ปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ในปี 2022

ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ มี 5 ประเด็นหลัก ๆ ที่แพทย์ควรติดตาม ดังนี้

  • แนวโน้มการระบาดของโรค COVID-19 ยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่อง เพราะการระบาดของเชื้อสายพันธุ์ใหม่อย่าง “Omicron” และสายพันธ์ที่อาจมีขึ้นต่อ ๆ ไป ทำให้เศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศไม่ได้ฟื้นตัวตามที่นักวิเคราะห์หลายคนได้คาดการณ์เอาไว้ บางประเทศต้องกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง ขณะที่กองบก. รีไรท์บทความเดือน มี.ค. มีข่าวเมืองเซี่ยงไฮ้มีการล็อคดาวน์ครั้งละครึ่งเมือง ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมชะงักลงอีกครั้ง อย่างไรก็ตามแม้การแพร่กระจายของเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้จะรวดเร็ว แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไม่ได้มีอาการรุนแรงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการติดเชื้อสายพันธุ์อื่น ๆ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ทั่วโลกก็ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อแล้ว ความหวังที่ COVID-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นก็มีโอกาสเป็นไปได้สูง ซึ่งถ้าไปในทิศทางที่บวกย่อมเป็นการดีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
  • สถานการณ์การสู้รบในยูเครน ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย ถือเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา มีผู้คาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก สำหรับประเทศไทยนั้น
    • ด้านการค้าขาย การค้าขายกับ 2 ประเทศนี้ไม่มาก โดยมีสัดส่วน 2% ของมูลค่าซื้อขายรวม แต่อาจมีผลกระทบจากการที่ไทยต้องซื้อน้ำมันดิบจากรัสเซียประมาณ 30,000 กว่าล้านบาท และหากสงครามขยายเข้าไปในยุโรปซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีการค้าขายกับไทยในปริมาณที่มากกว่า ผลกระทบอาจสูงขึ้น
    • ด้านต้นทุนและราคาสินค้า การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบในตลาด ส่งผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าโดยเฉพาะในกลุ่มโภคภัณฑ์ (Commodity) ทำให้ราคาสินค้าหลายรายการมีการปรับตัวสูงขึ้น ดูได้จากดัชนีรวมของสินค้าโภคภัณฑ์ (S&P GSCI) มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 16% และยังปรับตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีสินค้าอื่น ๆ ในบางรายการปรับสูงขึ้นด้วย เช่น อาหารสัตว์ ข้าวสาลี ข้าวโพด แร่เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง เป็นต้น
      สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการในไทยต้องเผชิญปัญหาต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น จนต้องปรับราคา ส่งผลต่อค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จนมีแนวโน้มปรับตัวสูงที่สุดในรอบ 14 ปี
    • ด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวรัสเซียและนักท่องเที่ยวยุโรปถือเป็นอีกกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักๆของเมืองไทย โดยหลังจากการเปิดประเทศเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวรัสเซียเดินทางเข้ามาประเทศไทยเป็นอันดับที่ 1 สงครามที่เกิดขึ้นถือเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง รวมถึงค่าเงินรูเบิลที่ปรับตัวลดลงกว่า 40% ทำให้ต้นทุนของนักท่องเที่ยวรัสเซียสูงขึ้นมาก ในส่วนของนักท่องเที่ยวยุโรปก็มีปัญหากระทบจาก COVID-19 และสงครามด้วยเช่นกัน สำหรับผลกระทบนั้น ขึ้นอยู่กับความยืดเยื้อยาวนานของสงครามด้วยเช่นกัน
  • สถานการณ์การเมืองและบทบาทของภาครัฐ หลายฝ่ายประเมินสถานการณ์การเมืองไทยว่า อาจมีการยุบสภาเลือกตั้งภายในปี 2565 โดยมี 2 ฝ่ายที่มีนโยบายต่างกันชัดเจน ซึ่งอาจส่งผลต่อการมีนโยบายการเงินการคลัง และนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อการฟื้นฟูประเทศที่ต่างกัน ดังนั้น การเปลี่ยนขั้วการเมือง ย่อมมีผลกระทบต่อการแก้ปัญหาโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจอย่างชัดเจน
  • การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ทำให้หลายธุรกิจต้องมีการปรับตัว ตัวอย่างของเทคโนโลยี ได้แก่ การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI, การใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง IoMT, การวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ Big data การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง IMT เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2565 มีแนวโน้มว่าบทบาทของกลุ่มอุตสาหกรรมทางเทคโนโลยีอาจจะกลายเป็นตัวกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจของโลกมากขึ้น สำหรับประเทศไทยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลบวกหรือลบกับเศรษฐกิจ ขึ้นกับการปรับตัวของแต่ละบริษัทในภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในแต่ละรุ่น ระยะเวลา 1 – 2 ปี ที่ผ่านมา พื้นฐานความสนใจ ทัศนคติ และมุมมองต่อเรื่องต่างๆของคนในแต่ละรุ่นเปลี่ยนแปลงไป สิ่งเหลานี้ส่งผลกระทบต่อความต้องการและการบริโภคที่แตกต่างกัน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจในอนาคต ตัวอย่างความสนใจ ได้แก่
    • คนรุ่น Baby Boomer (1946 – 1964) จากการสำรวจพบว่าสามารถทำงานที่บ้านได้ดีกว่าคนรุ่นอื่น ทำให้คนรุ่นนี้ปรับตัวใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น ทำให้กว่า 67% ของคนรุ่นนี้ หันมาซื้อของออนไลน์และใช้สื่อ Social มากขึ้น
    • คนรุ่น Generation X (1965 – 1980) เป็นวัยที่มีกำลังซื้อสูง และมีภาระความรับผิดชอบสูง เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะความเครียด ทำให้มีแนวโน้มในการซื้อสินค้าสุขภาพทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นยา อาหารเสริม สมุนไพรต่าง ๆ ทั้งซื้อใช้เองและซื้อให้คนในบ้านใช้
    • คนรุ่น Millenials (1980 – 1994) จากการสำรวจพบว่าคนในวันนี้ 73% ติดสื่อออนไลน์ และได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด 19 ทำให้รู้สึกสับสน โดดเดี่ยว เกิดกระแสของการออกมาใช้ชีวิตกลางแจ้งมากขึ้น หาร้านนั่งสังสรรค์มากขึ้นโดยเฉพาะในวันหยุด ขณะเดียวกันยังมีกระแสของการอยากเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อให้ชีวิตดียิ่งขึ้น
    • คนรุ่น Generation Z (1997 – 2012) เป็นกลุ่มที่เติบโตมาพร้อม ๆ กับเทคโนโลยี ทำให้คุ้นเคยกับการดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับสื่อออนไลน์ชนิดต่างๆ เช่น จองตั๋ว ดูหนัง สั่งซื้ออาหารแบบออนไลน์ เลือกดูสินค้าผ่านเน็ต มีทัศนคติเปิดกว้างรับผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีการสร้างรายได้จากงานออนไลน์ การเป็นยูทูปเบอร์ และอื่น ๆ
    • เด็กรุ่น ALPHA (2010 – 2024) เป็นอีกวัยที่โตมากับเทคโนโลยี และได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ทำให้คุ้นชินกับการใช้ชีวิตออนไลน์ เช่น เรียน ซื้ออาหาร คุยกับเพื่อน หาข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงใช้เวลาว่างทำกิจกรรมแบบออนไลน์

 

ข้อมูลจาก
  1. https://www.moneybuffalo.in.th/economy/world-economy-in-2022-what-issues-to-watch-out-for
  2. https://www.the101.world/101-roundtable-2022-interview/
  3. https://thematter.co/social/world-trend-2022/157488

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก