CIMjournal
banner cencer cell

Future: สถิติมะเร็ง และ 8 วิธีการรักษาสมัยใหม่ ที่แพทย์ควรรู้


WHO พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้คนทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าจำนวนจะเพิ่มขึ้นสูงในทุก ๆ ปี โดยมีข้อมูลว่าในปี พ.ศ. 2551 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั่วโลก 7.6 ล้านคน ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 จำนวนของผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 8.2 ล้านคน และในปี พ.ศ. 2573 คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 13 ล้านคน

สำหรับสถิติผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทย ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่กว่า 140,000 คน และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 60,000 คน ถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย รองลงมาคือ อุบัติเหตุ และโรคหัวใจ ตามลำดับ โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่/ทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก แยกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชาย 3 ลำดับ คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี ร้อยละ 33.2 มะเร็งปอด ร้อยละ 22.8 มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ร้อยละ 18.7 ส่วนมะเร็งที่พบบ่อยในเพศหญิง 3 ลำดับ คือ มะเร็งเต้านม ร้อยละ 34.2 มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ร้อยละ 13.3 มะเร็งตับและท่อน้ำดี ร้อยละ 12.2

ล่าสุดบริษัทสตาร์ทอัพหลายรายทั่วโลกต่างมุ่งพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง โดยอาศัยปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligent, AI) การหาลำดับสารพันธุกรรม และวิทยาการหุ่นยนต์มาประยุกต์ใช้ แนวโน้มของนวัตกรรมเหล่านี้ในอนาคตจะช่วยให้แพทย์เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรคมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น

  • ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้ต่อต้านเซลล์มะเร็ง ยับยั้งฤทธิ์ของสารน้ำที่ปลดปล่อยจากเซลล์มะเร็ง เช่น Ankyra พัฒนาภูมิคุ้มกันบำบัดยับยั้งสารน้ำ และการยืดเวลาในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อต้านมะเร็ง ขณะที่มีบางบริษัทพัฒนาวัคซีนภูมิคุ้มกันต่อต้านมะเร็งรูปแบบเซลล์รูปดาวหรือเซลล์เดนไดรท์ ผลิต CD141+XCR1 DC จากเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับการปรับแต่งยีน ซึ่งมีความทนทานและต่อต้านมะเร็งได้
  • เซลล์บำบัด (Cell therapy) มีผลไม่พึงประสงค์น้อย แต่ประสิทธิภาพสูงสำหรับมะเร็งที่ดื้อต่อยา เพราะมีเป้าหมายที่ระดับเซลล์ อาทิ การปรับแต่งพันธุกรรมให้มุ่งเป้าไปที่โปรตีนจำเพาะที่พบเฉพาะในเซลล์มะเร็ง
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy) มีการคิดค้นและพัฒนายาใหม่รวมถึงการนำส่งยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลไม่พึงประสงค์ เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากเคมีบำบัด ตัวอย่างเช่น Imescia ผลิตยาเคมีบำบัดจากส่วนประกอบทางเภสัชกรรมที่มีศักยภาพสูง และส่วนประกอบที่นำส่งยาสู่สภาพแวดล้อมระดับจุลภาครอบเนื้องอก ทั้งยังสามารถออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งที่ไม่มีตัวรับจำเพาะได้ด้วย ในขณะที่มีบริษัทพัฒนาสารที่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง CT-262 โดยอาศัยความแตกต่างของ TME ระหว่างเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติ เป็นต้น
  • ยีนบำบัด (Gene therapy) อาศัยการปรับแต่งพันธุกรรม เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ในการรักษามะเร็ง มีการใช้ไวรัสหรือพาหะนำส่งยีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา เช่น Correct Sequence advance Base Editing Therapy พัฒนาการรักษาด้วยชุดลำดับสารพันธุกรรม (CRISPR) ระบุการกลายพันธุ์ที่ไม่ใช่เป้าหมาย ในขณะที่บางบริษัทได้มีการพัฒนา Exosome Loading Proteins (ELP) ช่วยให้สามารถนำส่งชุด DNA และโปรตีนสำหรับรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเลือกกำจัดเซลล์มะเร็งพร้อมทั้งกระตุ้นร่างกายให้ต่อต้านมะเร็ง เหมาะสำหรับมะเร็งระยะลุกลามและแพร่กระจาย
  • การรักษาด้วยยามุ่งเป้า (Targeted therapy) อาศัยโมเลกุลหรือกระบวนการจำเพาะสำหรับการเจริญ และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในการเกิดผลไม่พึงประสงค์ต่อเซลล์ปกติ
  • มะเร็งวิทยาแม่นยำ (Precision oncology) เป็นนวัตกรรมการดูแลรักษามะเร็งที่มีความจำเพาะต่อผู้ป่วยเฉพาะราย สนับสนุนการวินิจฉัย และการพิจารณาตัดสินใจทางเลือกรักษา โดยอาศัยชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) เช่น บริษัทที่พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) โดยอาศัยหลักฐานจากการใช้จริง (real-world datasets) และ AI ในการประมวลข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ขณะที่บางบริษัทได้พัฒนาการรักษาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายด้วยแพลตฟอร์มการจำลองโรคและการทดลองยาผ่านเทคโนโลยี patient micro avatar (PMA) โดยอาศัยข้อมูลเซลล์มะเร็งของผู้ป่วยและเมทริกซ์ของยามาตรฐานและยาสำหรับการทดลองทางคลินิก
  • รังสีรักษา (Radiation therapy) ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนระยะสั้น และลดอัตราการเกิดมะเร็งซ้ำในระยะยาว ตัวอย่างเช่น มีบริษัทที่พัฒนาสูตรยา NG11 NG12 และ NG13 สำหรับป้องกันผิวหนังอักเสบหรือเสียหายจากรังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งที่ศีรษะ คอ หรือมะเร็งเต้านม และบางบริษัทได้พัฒนาตัวนำยาที่มีความไวต่อคลื่นวิทยุสำหรับการฉายรังสีรักษาและบำบัดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น
  • นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) สำหรับห่อหุ้มยารักษามะเร็งเพื่อเพิ่มการดูดซึมและการนำส่งยาสู่โมเลกุลมะเร็งเป้าหมาย โดยมีการพัฒนาสารประกอบต่อต้านมะเร็งสำหรับมะเร็งระยะลุกลามจากโมเลกุลชีวภาพระดับเซลล์ โดยเฉพาะโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ และอื่น ๆ

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่านวัตกรรมการดูแลรักษามะเร็งที่มีการพัฒนา โดยอาศัยวิทยาการที่มีอยู่ในปัจจุบันผสานกับการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มการรักษาให้มีความแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วยยา การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ ลดการรุกรานหรือล่วงล้ำร่างกายผู้ป่วย และลดระยะเวลาสำหรับการฟื้นตัว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก