CIMjournal
banner food 2

โอเมก้า 3 จากการกินปลา ไม่ส่งผลต่ออัตราการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ atrial fibrillation


การศึกษา
meta-analysis จากงานวิจัยเฝ้าติดตาม พบว่า ในผู้ที่ได้โอเมก้า 3 ปริมาณสูงจากอาหารโดยเฉพาะจากเนื้อปลา ไม่มีการเกิด atrial fibrillation มากขึ้น แถมยังมีแนวโน้มเกิดลดลงประมาณ 10% เมื่อเทียบกินปลาปริมาณมากกับกินปลาปริมาณน้อย

ไขมันโอเม 3 เป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์สูง ปัจจุบันมีคำแนะนำให้กินปลาและอาหารที่มีโอเมก้า 3 เป็นองค์ประกอบ ในคำแนะนำอาหารมาตรฐานทั่วไป รวมทั้งมีการใช้ยาเม็ดที่มีส่วนประกอบของโอเมก้า 3 ขนาดปกติ และขนาดสูงในการลดไตรกลีเซอไรด์ และลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

แต่ผลการศึกษาแบบ meta-analysis ที่ออกมา กลับพบว่า การกินโอเมก้า 3 แบบเม็ดจะเพิ่มโอกาสการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ atrial fibrillation ประมาณ 25% เมื่อเทียบกับไม่ได้ใช้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้ขนาดสูงกว่าวันละ 1 กรัม จึงเป็นคำถามสำคัญว่าโอเมก้า 3 จากอาหารจะส่งผลเหมือนโอเมก้า 3 แบบเม็ดหรือไม่

การศึกษาแบบ meta-analysis จากฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ทำการรวบรวมงานวิจัยศึกษาโอเมก้า 3 ในอาหารโดยเฉพาะจากเนื้อปลา ที่มีการวัดผล atrial fibrillation ได้เป็นการศึกษาแบบเฝ้าติดตามจำนวน 17 การศึกษาและกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 54,799 ราย ที่มีการใช้โอเมก้า 3 แบบเม็ดน้อยมาก พบมี atrial fibrillation เกิดใหม่ 7,720 ราย คิดเป็น 14% ของกลุ่มตัวอย่างในระยะเวลา 13 ปี พบว่า ระดับโอเมก้า 3 EPA ไม่เพิ่มการเกิด AF (HR = 1.0) ระหว่างการกินมากระดับ 90th percentile และการกินน้อยที่ระดับ 10th percentile ส่วนระดับโอเมก้า 3 ตัวอื่น ไม่ว่าจะเป็น DPA, DHA หรือส่วนผสม EPA/DHA พบว่า ลดโอกาสการเกิด AF เมื่อเทียบปริมาณกินมากกับกินน้อย สัดส่วนลดลงประมาณ 10% 

ข้อสำคัญของการศึกษาโอเมก้า 3 ในอาหารที่ทำให้ต่างจากโอเมก้า 3 แบบเม็ดอีกประการ คือ ในการศึกษานี้เป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่ำ และพบเป็นโรคหัวใจไม่มากนัก พอเทียบเคียงในกลุ่มประชากรปรกติได้ ส่วนในการศึกษายาเม็ดโอเมก้า 3 ส่วนมากเป็นการรักษาในผู้ป่วยความเสี่ยงสูงที่มีโอกาสเกิด AF สูงอยู่แล้ว

โอเมก้า 3 จากอาหารโดยเฉพาะเนื้อปลา ไม่ทำให้เกิด atrial fibrillation มากขึ้น สามารถรับประทานได้ต่อเนื่องตามแนวทางการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่แนะนำโอเมก้า 3 จากอาหารโดยทั่วไป 

 

เรียบเรียงโดย นพ. ชาคริต หริมพานิช
ข้อมูลจาก
  1. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37468189/
  2. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34612056/

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก