CIMjournal
banner drug 5

ยาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ทั่วไปสำหรับรักษาอาการติดเชื้อในวัยเด็กจะไม่มีไปมีประสิทธิภาพอีกต่อไป  


นักวิจัยพบ
อัตราเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะที่ใช้สำหรับเด็กและทารก ในเอเชียแปซิฟิกมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจ

ยารักษาโรคติดเชื้อทั่วไปในเด็กและทารก อาจไม่มีประสิทธิภาพอีกต่อไปในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก เนื่องจากมีอัตราการดื้อต่อยาปฏิชีวนะเพิ่มสูงขึ้น อ้างอิงจากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยซิดนีย์ พบว่า ยาปฏิชีวนะหลายชนิดที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) มีประสิทธิภาพในการรักษาน้อยกว่าร้อยละ 50 สำหรับการรักษาอาการติดเชื้อในเด็ก เช่น โรคปอดบวม ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น ซึ่งผลการวิจัยระบุว่าแนวทางปฏิบัติสากลเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นล้าสมัย และจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง

งานศึกษานี้ พบว่า ภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งมีเด็กที่เสียชีวิตโดยไม่จำเป็นนับพันราย อันเกิดจากเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในทุกปี ทั้งนี้ WHO ได้ประกาศภาวะการดื้อต่อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial resistance, AMR) เป็นหนึ่งใน 10 อันดับแรกของภัยคุกคามระดับโลกด้านสาธารณสุขที่มนุษยชาติกำลังเผชิญ ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยทารกแรกเกิด ติดเชื้อประมาณสามล้านรายทั่วโลก และเสียชีวิตถึง 570,000 ราย ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพในการรักษาแบคทีเรียดื้อยา ผลการวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Lancet South East Asia เพิ่มหลักฐานเพิ่มเติมว่าแบคทีเรียทั่วไป ที่ก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อและเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็กมักจะดื้อต่อยา โดยพบว่า ยาปฏิชีวนะ ceftriaxone มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพในรักษาได้เพียงหนึ่งในสามของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารกแรกเกิด และ Ceftriaxone ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในออสเตรเลีย เพื่อรักษาโรคติดเชื้อในเด็กหลายชนิด เช่นโรคปอดบวมและการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นอกจากนั้น พบว่า ยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่ง คือ gentamicin มีประสิทธิภาพในการรักษาน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และเยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็ก โดยทั่วไปจะมีการจ่ายยา Gentamicin ควบคู่ไปกับ aminopenicillins ซึ่งการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ายังมีประสิทธิผลต่ำในการต่อสู้กับการติดเชื้อในกระแสเลือดในทารกและเด็ก

การวิจัยนี้เผยให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับปรุงแนวทางปฏิบัติด้านการใช้ยาปฏิชีวนะทั่วโลก เพื่อให้ทันต่ออัตราการพัฒนาอย่างรวดเร็วของ AMR ทั้งนี้ แนวปฏิบัติล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกเผยแพร่ในปี ค.ศ. 2013 ซึ่งอาจล้าหลังเกินไปสำหรับสถานการณ์ในโลกปัจจุบัน

 

เรียบเรียงโดย พญ. พนิดา วิจารณ์
ข้อมูลจาก https://www.sciencedaily.com/releases/2023/10/231031111529.htm

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก